วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

งานวิจัยบูรณาการ

เรื่อง พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่


เสนอ

อาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล



จัดทำโดย
1. ณัฐพรรณ ดรุณเทอดไทย ม.6.2 เลขที่ 2
2. ธนิสร ถนอมเกียรติคุณ ม.6.2 เลขที่ 5
3. นวรัตน์ เจริญถาวรโภคา ม.6.2 เลขที่ 8
4. มนสิชา แสงอุทัย ม.6.2 เลขที่ 21
5. เปรมสิริ หงษ์ทอง ม.6.2 เลขที่ 29
โรงเรียนสตรีวิทยา

1.1 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

1.1 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ

1.2 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

1.2 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ

บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ


ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น

นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง

นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ

1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

1.3.1)โปรตุเกสและสเปน
นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่15 เป็นต้นมา ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจและพยายามแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (Henry the Navigator ค.ศ.1394-1460) แห่งโปรตุเกส พระอนุชาของพระเจ้าจอร์นที่ 1 (John I) ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชนาวีขึ้นที่แหลมซาเกรสเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆในการเดินทะเล และเป็นแหล่งรวบรวมการสำรวจเส้นทางเดินเรือด้วยพระอุปถัมภ์ของพระองค์ประกอบกับความรู้ในการใช้เข็มทิศ และเทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สามารถต้านคลื่นลมได้ทำให้นักเดินเรือของโปรตุเกสสามารถเดินทางจนถึงแหลมกรีนในแอฟริกา

หลังจากที่เจ้าชายเฮนรี นาวิกราชสิ้นพระชนม์ บาร์โธโลมิว ไดแอส (Bartholomeu Dias) สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาจนผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ได้สำเร็จในค.ศ.1488 และนักเดินเรือชาวโปรตุเกสอีกผู้หนึ่ง คือ วัสโก ดา กามา (Vasco da Gama) แล่นเรือในเส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงเอเชีย และหลังจากใช้เวลาเดินทางได้ 93 วันก็ขึ้นฝั่งที่เมืองกาลิกัต (Calicut) ของอินเดีย ค.ศ.1498 และสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดียนำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากกว่า60เท่าของค่าใช้จ่ายในการเดินเรือทั้งหมด ระยะก่อนหน้านั้น ใน ค.ศ.1492 คริสดตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ชาวเมืองเจนัว ซึ่งเชื่อว่าสัณฐานของโลกกลมก็รับอาสากษัตริย์สเปนเดินทางไปสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน โดยข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และสามารถค้นพบทวีปอเมริกาได้ในที่สุด ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาใต้ที่อุดมด้วยแหล่งแร่เงินและทองคำ

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นระยะเวลาแห่งการเริ่มต้นแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอำนาจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปรตุเกส ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันในฐานะเป็นราชอาณาจักรที่นับถือศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเหมือนกัน ใน ค.ศ.1494 สันตะปาปา อะเล็กซานเดอร์ที่ 6 (Alexander VI) ทรงให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญาทอร์เดซียัส (Treaty of Tordesillas) กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ 370 ทางตะวันตกของหมู่เกาะเคปเวิร์ด ซึ่งปัจจุบันคือเส้นเมริเดียนที่ 51 ทางตะวันตกของกรีนิช เป็นเส้นสมมติที่แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิสำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 และโปรตุเกสได้สิทธิทางด้านตะวันออก อาณาเขตที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเส้นสมมติดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการนำไปสู่การครอบครองทวีปอเมริกาใต้ของสเปนเกือบหมด ยกเว้นบราซิล ซึ่งตกเป็นของโปรตุเกสตามข้อตกลงของสนธิสัญญานี้ และนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเล (maritime empire) ของโปรตุเกสในเอเชีย

โปรตุเกสประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการกำจัดอำนาจของพวกมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาและรัฐอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งะวันตก และยึดเกาะเมืองกัว (Goa) ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของสันนิบาตมุสลิม (Mohammedan League) ในมหาสมุทรอินเดียได้ และใช้เมืองกัวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในตะวันออก ในค.ศ.1511 อาฟองโซ เดอ อัลบูเกร์เก (Afonso de Albuquerque) ข้าหลวงโปรตุเกสประจำตะวันออก สามารถขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ายึดครองมะละกาซึ่งเป็นชุมทางของเรือสินค้าจากอินเดีย อาหรับ อียิปต์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การยึดครองดินแดนดังกล่าวทำให้หมู่เกาะอินดิสตะวันออกทั้งหมด คือ บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และสร้างความมั่นคงอย่างมหาศาลให้แก่โปรตุเกสจากการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ในค.ศ.1519 เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน(Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ซึ่งเคยมีประสบการณ์เดินเรือมายังหมู่เกาะเครื่องเทศโดยทางมหาสมุทรอินเดีย ได้รับอาสากษัตริย์สเปนและคุมเรือสเปน 5 ลำ ออกค้นหาเส้นทางเดินเรือสายใหม่มายังตะวันออกโดยแล่นเรือออกจากท่าเรือสเปนไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก และอ้อมผ่านช่องแคบมาเจลลัน ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเขาตั้งชื่อว่า มาเร ปาซิฟิโก (Mare Pacifico) ซึ่งแปลว่า ทะเลสาบ (The Peaceful Sea) แต่ต้องใช้เวลา 4 เดือน จึงได้ขึ้นฝั่งอีกครั้งที่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ การเดินทางของมาเจลลันครั้งนี้นับเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังทวีปเอเชีย และสามารถพิสูจน์ได้ว่าอเมริกาและเอเชียตั้งอยู่คนละทวีป คนละซีกโลกและรู้ว่าเกาะเฮติและคิวบาไม่ใช่ญี่ปุ่นและจีนตามที่ชาวตะวันตกเข้าใจผิดกันมาตั้งแต่เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา

อย่างไรก็ดี มาเจลลันไม่ได้มีโอกาสแล่นเรือกลับสเปน เขาถูกคนพื้นเมืองฆ่าตาย เมื่อพยายามเผยแผ่ศาสนา แต่ลูกเรือที่เหลือโดยการนำของ เซบาสเตียน เดล กาโน (Sebastian del Cano) สามาถหลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ได้และเดินทางต่อไปจนพบโมลุกกะ หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ได้แวะซื้อเครื่องเทศจากชาวพื้นเมืองบรรทุกจนเต็มคันเรือ วิคโตริโอ (Victorio) และสามารถหลบเรือโปรตุเกสซึ่งควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ เดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอิเดียได้สำเร็จ เรือ วิคโตริโอ เข้าเทียบท่าสเปนใน ค.ศ.1522 ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรือลำแรกที่แล่นรอบโลกและสามารถพิสูจน์ทฤษฎีโลกกลมว่าเป็นความจริง
การค้นพบเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกของดา กามา และมาเจลลันนับว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นการเปิดน่านน้ำให้เรือจากทวีปยุโรปสามารถแล่นมายังทวีปเอเชียทางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้อารยธรรมตะวันตกหลั่งไหลมายังเอเชีย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ใน ค.ศ.1580 ได้เกิดความผันผวนทางการเมืองในโปรตุเกสเมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน (Philip II ค.ศ.1556-1598) ทรงยกกองทัพเข้ายึดครองโปรตุเกส และทำให้โปรตุเกสต้องตกอยู่ในอำนาจของสเปนจนถึง ค.ศ.1640

1.3.2) ฮอลันดา

1.3.2) ฮอลันดา
ฮอลันดา หรือฮอลแลนด์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนเธอร์แลนด์ เป็นดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปที่เคยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ก่อนหน้านี้ชาวดัตซ์ได้ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าเครื่องเทศในยุโรปมาโดยตลอด โดยส่งเรือสินค้าไปรับเครื่องเทศจากโปรตุเกสที่ท่าเรือลิสบอน แต่เมื่อฮอลันดาได้ก่อกบฏและแยกตัวเป็นอิสระใน ค.ศ.1580 ห้ามไม่ให้พ่อค้าดัตซ์เข้าไปซื้อเครื่องเทศในตลาดโปรตุเกสอีกต่อไป นโยบายดังกล่าวจึงเท่ากับบีบบังคับให้ฮอลันดาต้องหาเส้นทางเพื่อติดต่อซื้อเครื่องเทศโดยตรงกับอินดิสตะวันออกของโปรตุเกส ในไม่ช้ากองทัพเรือที่เข้มแข็งของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ใน ค.ศ.1598 ฮอลันดาได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และอีก 4 ปีต่อมาได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาขึ้นเพื่อควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ

การครอบครองหมู่เกาะเครื่องเทศของฮอลันดามีผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ใน ค.ศ.1606 บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้ส่งวิลเล็ม เจนซ์ (Willem Jansz) คุมเรือ ดุฟเกน (Duyfken) จากบันดา (Banda) เพื่อค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่าอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา การเดินเรือครั้งนี้ทำให้เจนซ์ และลูกเรือชาวดัตซ์เป็นคนขาวกลุ่มแรกที่ได้เห็นทวีปอสเตรเลีย และทำให้ฮอลันดาได้รับการยกย่องว่าเป็นชาติแรกที่ค้นพบทวีปออสเตรเลีย

แม้ว่าเดิมฮอลันดาเดินทางมายังตะวันออกเพื่อความมุ่งหมายทางการค้าเป็นสำคัญ แต่ภายหลังฮอลันดาก็เปลี่ยนนโยบายโดยยึดเอาดินแดนที่ตนครอบครองไว้ให้อยู่ในฐานะเป็นอาณานิคม

1.3.3) อังกฤษ

1.3.3) อังกฤษ
อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในตะวันออกในปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา ใน ค.ศ.1588 อังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I ค.ศ.1558-1603) ได้ทำสงครามกับสเปนและสามารถรบชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (Armada) อันเกรียงไกรของสเปนได้ ชัยชนะดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้อังกฤษเดินทางแสวงหาผลประโยชน์ในการค้าและสร้างอิทธิพลในตะวันออก และ ค.ศ.1591 อังกฤษได้ส่งกองเรือเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปมายังอินเดียเป็นครั้งแรก และใน ค.ศ.1600 บริษัทอินเดียตะวันตกออกของอังกฤษก็ได้รับพระราชทานกฏบัตร (Charter) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคบมาเจลลัน ต่อมาอังกฤษสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุมมหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย นับตั้งแต่นั้นอังกฤษก็กลายเป็นคู่แข่งขันในทางการค้ากับฮอลันดาในตะวันออก อย่างไรก็ดีหลัง ค.ศ.1660 เป็นต้นมา อังกฤษได้ทำสงครามชนะฮอลันดาและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจยุโรปอีกประเทศหนึ่งที่จะควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก แต่ฮอลันดายังควบคุมช่องแคบมะละกาและมีอำนาจในการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินดิสตะวันออกต่อไป

หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษเข้ามามีบทบาทแทนบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษแล้ว รัฐบาลอังกฤษดำเนินนโยบายสร้างอิทธิพลในตะวันออกอังกฤษอย่างเต็มที่โดยยึดดินแดนต่างๆเป็นอาณานิคมของตน เช่น อินเดีย พม่า มลายู สิงคโปร์

1.4 ผลของการค้นพบดินแดนของชาวตะวันตก

1.4 ผลของการค้นพบดินแดนของชาวตะวันตก

1.4.1 การเผยแผ่ศาสนา

หลังจากการค้นพบเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก ตลอดจนการค้นพบ โลกใหม่(New World) หรือทวีปอเมริกาของชาติตะวันตกแล้ว อารธรรมยุโรปก็เริ่มหลั่งไหลไปยังส่วนต่างๆของโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันประเทศผู้บุกเบิกก็ถือโอกาสำคริสต์ศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในประเทศที่ติดต่อทำการค้า หรือดินแดนที่เข้ายึดครองและจัดตั้งเป็นอาณานิคม การเผยแผ่ใช้ทั้งสันติวิธีโดยคณะนักบวชที่เรียกว่า บาทหลวง ทำหน้าที่สอนศาสนาและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแลพการศึกษาแก่คนพื้นเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจใช้วิธีรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้คนพื้นมืองในบางดินแดนซึ่งถือว่าเป็นพวกนอกรีต (heresy) ให้หันมายอมรับนับถือคริสต์ศาสนา และเป็นนโยบายของประเทศด้วย เช่น ในคริสต์ศตวรรษที่16 สเปนใช้ศาลศาสนาเป็นเครื่องมือในการส่งกองทหารเข้าทำลายล้างอารยธรรมของเผ่ามายา (Maya) แอสเต็ก (Aztec) และอินคา (Inca) ในทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้เหตุผลว่าชนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นพวกนอกศาสนาและบีบบังคับให้นับถือคริตส์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก จนในที่สุดคริสต์ศาสนานิการโรมันคาทอลิกก็สามารถหยั่งรากลึกในดินแดนของโลกใหม่นับแต่นั้นเป็นต้นมา