วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่

งานวิจัยบูรณาการ

เรื่อง พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่


เสนอ

อาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล



จัดทำโดย
1. ณัฐพรรณ ดรุณเทอดไทย ม.6.2 เลขที่ 2
2. ธนิสร ถนอมเกียรติคุณ ม.6.2 เลขที่ 5
3. นวรัตน์ เจริญถาวรโภคา ม.6.2 เลขที่ 8
4. มนสิชา แสงอุทัย ม.6.2 เลขที่ 21
5. เปรมสิริ หงษ์ทอง ม.6.2 เลขที่ 29
โรงเรียนสตรีวิทยา

1.1 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

1.1 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ

1.2 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ

1.2 สาเหตุของการสำรวจเส้นทางเดินเรือ
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา(ค.ศ.1350-1650) ชาวยุโรปได้หันมาสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้งหนึ่ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสด (ค.ศ.1096-1291)ซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมในตะวันออกกลาง และการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆโดยเฉพาะทางด้านปรัชญา คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิมที่หลั่งไหลมาสู่สังมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักรวาล วิทยาของคริสย์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง ตำนานเกี่ยวกับสัตว์ร้ายในโพ้นทะเลที่คอยจ้องทำลายเรือเดินทะเล หรือความเชื่อว่าโลกแบนนและเรือที่แล่นไปในท้องทะเลที่เวิ้งว้างอาจตกขอบโลกได้นั้นกลายเป็นเรื่องราวที่เหลวไหลไร้สาระ

บรรยากาศของการแสวงหาและค้นหาคำตอบให้กับตนเองกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาหันมาสนใจต่อความลี้ลับของท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของ โตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นถึงที่ตั้งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนดินแดนริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรไอบีเรียเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลที่ขยายไปถึงอินเดียและจีน ส่วนทางตะวันตกของทวีปยุโรปและทางตะวันออกของจีนนั้นก็เป็นทะเลทั้งหมด และทะเลดังกล่าวนี้ก็ติดต่อเชื่อมโยงถึงกันหมด นอกจากนี้ยังมีผืนดินทางโลกใต้ซึ่งแผ่จากขั้วโลกใต้จนถึงเขตร้อน และมีอาณาเขตกว้างขวางทำนองเดียวกับแผ่นดินทางซีกโลกเหนือ


ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเปิล(ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูลในประเทศตุรกี)และดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้ทั้งหมด ในค.ศ.1453 ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันตกชะงักงั้น แต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ ยารักษาโรค น้ำตาลยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตกและสามารถทำกำไรอย่างสูงให้แก่พ่อค้า ดังนั้น หนทางเดียวที่พ่อค้าจะสามารถรักษาและตักตวงผลประโยชน์ดังกล่าวไว้ได้ก็คือ การติดต่อค้าขายทางทะเลเท่านั้น

นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง

นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ

1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

1.3.1)โปรตุเกสและสเปน
นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่15 เป็นต้นมา ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจและพยายามแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (Henry the Navigator ค.ศ.1394-1460) แห่งโปรตุเกส พระอนุชาของพระเจ้าจอร์นที่ 1 (John I) ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชนาวีขึ้นที่แหลมซาเกรสเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆในการเดินทะเล และเป็นแหล่งรวบรวมการสำรวจเส้นทางเดินเรือด้วยพระอุปถัมภ์ของพระองค์ประกอบกับความรู้ในการใช้เข็มทิศ และเทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สามารถต้านคลื่นลมได้ทำให้นักเดินเรือของโปรตุเกสสามารถเดินทางจนถึงแหลมกรีนในแอฟริกา

หลังจากที่เจ้าชายเฮนรี นาวิกราชสิ้นพระชนม์ บาร์โธโลมิว ไดแอส (Bartholomeu Dias) สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาจนผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ได้สำเร็จในค.ศ.1488 และนักเดินเรือชาวโปรตุเกสอีกผู้หนึ่ง คือ วัสโก ดา กามา (Vasco da Gama) แล่นเรือในเส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงเอเชีย และหลังจากใช้เวลาเดินทางได้ 93 วันก็ขึ้นฝั่งที่เมืองกาลิกัต (Calicut) ของอินเดีย ค.ศ.1498 และสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดียนำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากกว่า60เท่าของค่าใช้จ่ายในการเดินเรือทั้งหมด ระยะก่อนหน้านั้น ใน ค.ศ.1492 คริสดตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ชาวเมืองเจนัว ซึ่งเชื่อว่าสัณฐานของโลกกลมก็รับอาสากษัตริย์สเปนเดินทางไปสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน โดยข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และสามารถค้นพบทวีปอเมริกาได้ในที่สุด ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาใต้ที่อุดมด้วยแหล่งแร่เงินและทองคำ

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นระยะเวลาแห่งการเริ่มต้นแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอำนาจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปรตุเกส ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันในฐานะเป็นราชอาณาจักรที่นับถือศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเหมือนกัน ใน ค.ศ.1494 สันตะปาปา อะเล็กซานเดอร์ที่ 6 (Alexander VI) ทรงให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญาทอร์เดซียัส (Treaty of Tordesillas) กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ 370 ทางตะวันตกของหมู่เกาะเคปเวิร์ด ซึ่งปัจจุบันคือเส้นเมริเดียนที่ 51 ทางตะวันตกของกรีนิช เป็นเส้นสมมติที่แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิสำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 และโปรตุเกสได้สิทธิทางด้านตะวันออก อาณาเขตที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเส้นสมมติดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการนำไปสู่การครอบครองทวีปอเมริกาใต้ของสเปนเกือบหมด ยกเว้นบราซิล ซึ่งตกเป็นของโปรตุเกสตามข้อตกลงของสนธิสัญญานี้ และนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเล (maritime empire) ของโปรตุเกสในเอเชีย

โปรตุเกสประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการกำจัดอำนาจของพวกมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาและรัฐอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งะวันตก และยึดเกาะเมืองกัว (Goa) ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของสันนิบาตมุสลิม (Mohammedan League) ในมหาสมุทรอินเดียได้ และใช้เมืองกัวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในตะวันออก ในค.ศ.1511 อาฟองโซ เดอ อัลบูเกร์เก (Afonso de Albuquerque) ข้าหลวงโปรตุเกสประจำตะวันออก สามารถขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ายึดครองมะละกาซึ่งเป็นชุมทางของเรือสินค้าจากอินเดีย อาหรับ อียิปต์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การยึดครองดินแดนดังกล่าวทำให้หมู่เกาะอินดิสตะวันออกทั้งหมด คือ บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และสร้างความมั่นคงอย่างมหาศาลให้แก่โปรตุเกสจากการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ในค.ศ.1519 เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน(Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ซึ่งเคยมีประสบการณ์เดินเรือมายังหมู่เกาะเครื่องเทศโดยทางมหาสมุทรอินเดีย ได้รับอาสากษัตริย์สเปนและคุมเรือสเปน 5 ลำ ออกค้นหาเส้นทางเดินเรือสายใหม่มายังตะวันออกโดยแล่นเรือออกจากท่าเรือสเปนไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก และอ้อมผ่านช่องแคบมาเจลลัน ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเขาตั้งชื่อว่า มาเร ปาซิฟิโก (Mare Pacifico) ซึ่งแปลว่า ทะเลสาบ (The Peaceful Sea) แต่ต้องใช้เวลา 4 เดือน จึงได้ขึ้นฝั่งอีกครั้งที่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ การเดินทางของมาเจลลันครั้งนี้นับเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังทวีปเอเชีย และสามารถพิสูจน์ได้ว่าอเมริกาและเอเชียตั้งอยู่คนละทวีป คนละซีกโลกและรู้ว่าเกาะเฮติและคิวบาไม่ใช่ญี่ปุ่นและจีนตามที่ชาวตะวันตกเข้าใจผิดกันมาตั้งแต่เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา

อย่างไรก็ดี มาเจลลันไม่ได้มีโอกาสแล่นเรือกลับสเปน เขาถูกคนพื้นเมืองฆ่าตาย เมื่อพยายามเผยแผ่ศาสนา แต่ลูกเรือที่เหลือโดยการนำของ เซบาสเตียน เดล กาโน (Sebastian del Cano) สามาถหลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ได้และเดินทางต่อไปจนพบโมลุกกะ หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ได้แวะซื้อเครื่องเทศจากชาวพื้นเมืองบรรทุกจนเต็มคันเรือ วิคโตริโอ (Victorio) และสามารถหลบเรือโปรตุเกสซึ่งควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ เดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอิเดียได้สำเร็จ เรือ วิคโตริโอ เข้าเทียบท่าสเปนใน ค.ศ.1522 ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรือลำแรกที่แล่นรอบโลกและสามารถพิสูจน์ทฤษฎีโลกกลมว่าเป็นความจริง
การค้นพบเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกของดา กามา และมาเจลลันนับว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นการเปิดน่านน้ำให้เรือจากทวีปยุโรปสามารถแล่นมายังทวีปเอเชียทางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้อารยธรรมตะวันตกหลั่งไหลมายังเอเชีย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ใน ค.ศ.1580 ได้เกิดความผันผวนทางการเมืองในโปรตุเกสเมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน (Philip II ค.ศ.1556-1598) ทรงยกกองทัพเข้ายึดครองโปรตุเกส และทำให้โปรตุเกสต้องตกอยู่ในอำนาจของสเปนจนถึง ค.ศ.1640

1.3.2) ฮอลันดา

1.3.2) ฮอลันดา
ฮอลันดา หรือฮอลแลนด์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนเธอร์แลนด์ เป็นดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปยุโรปที่เคยอยู่ใต้การปกครองของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ก่อนหน้านี้ชาวดัตซ์ได้ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าเครื่องเทศในยุโรปมาโดยตลอด โดยส่งเรือสินค้าไปรับเครื่องเทศจากโปรตุเกสที่ท่าเรือลิสบอน แต่เมื่อฮอลันดาได้ก่อกบฏและแยกตัวเป็นอิสระใน ค.ศ.1580 ห้ามไม่ให้พ่อค้าดัตซ์เข้าไปซื้อเครื่องเทศในตลาดโปรตุเกสอีกต่อไป นโยบายดังกล่าวจึงเท่ากับบีบบังคับให้ฮอลันดาต้องหาเส้นทางเพื่อติดต่อซื้อเครื่องเทศโดยตรงกับอินดิสตะวันออกของโปรตุเกส ในไม่ช้ากองทัพเรือที่เข้มแข็งของฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ใน ค.ศ.1598 ฮอลันดาได้จัดตั้งสถานีการค้าในเกาะชวา และอีก 4 ปีต่อมาได้จัดตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาขึ้นเพื่อควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ

การครอบครองหมู่เกาะเครื่องเทศของฮอลันดามีผลกระทบที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ใน ค.ศ.1606 บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้ส่งวิลเล็ม เจนซ์ (Willem Jansz) คุมเรือ ดุฟเกน (Duyfken) จากบันดา (Banda) เพื่อค้นหาเกาะทองคำที่เชื่อว่าอยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันออกของเกาะชวา การเดินเรือครั้งนี้ทำให้เจนซ์ และลูกเรือชาวดัตซ์เป็นคนขาวกลุ่มแรกที่ได้เห็นทวีปอสเตรเลีย และทำให้ฮอลันดาได้รับการยกย่องว่าเป็นชาติแรกที่ค้นพบทวีปออสเตรเลีย

แม้ว่าเดิมฮอลันดาเดินทางมายังตะวันออกเพื่อความมุ่งหมายทางการค้าเป็นสำคัญ แต่ภายหลังฮอลันดาก็เปลี่ยนนโยบายโดยยึดเอาดินแดนที่ตนครอบครองไว้ให้อยู่ในฐานะเป็นอาณานิคม

1.3.3) อังกฤษ

1.3.3) อังกฤษ
อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในตะวันออกในปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา ใน ค.ศ.1588 อังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I ค.ศ.1558-1603) ได้ทำสงครามกับสเปนและสามารถรบชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (Armada) อันเกรียงไกรของสเปนได้ ชัยชนะดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้อังกฤษเดินทางแสวงหาผลประโยชน์ในการค้าและสร้างอิทธิพลในตะวันออก และ ค.ศ.1591 อังกฤษได้ส่งกองเรือเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปมายังอินเดียเป็นครั้งแรก และใน ค.ศ.1600 บริษัทอินเดียตะวันตกออกของอังกฤษก็ได้รับพระราชทานกฏบัตร (Charter) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคบมาเจลลัน ต่อมาอังกฤษสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุมมหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย นับตั้งแต่นั้นอังกฤษก็กลายเป็นคู่แข่งขันในทางการค้ากับฮอลันดาในตะวันออก อย่างไรก็ดีหลัง ค.ศ.1660 เป็นต้นมา อังกฤษได้ทำสงครามชนะฮอลันดาและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจยุโรปอีกประเทศหนึ่งที่จะควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก แต่ฮอลันดายังควบคุมช่องแคบมะละกาและมีอำนาจในการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินดิสตะวันออกต่อไป

หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษเข้ามามีบทบาทแทนบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษแล้ว รัฐบาลอังกฤษดำเนินนโยบายสร้างอิทธิพลในตะวันออกอังกฤษอย่างเต็มที่โดยยึดดินแดนต่างๆเป็นอาณานิคมของตน เช่น อินเดีย พม่า มลายู สิงคโปร์

1.4 ผลของการค้นพบดินแดนของชาวตะวันตก

1.4 ผลของการค้นพบดินแดนของชาวตะวันตก

1.4.1 การเผยแผ่ศาสนา

หลังจากการค้นพบเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก ตลอดจนการค้นพบ โลกใหม่(New World) หรือทวีปอเมริกาของชาติตะวันตกแล้ว อารธรรมยุโรปก็เริ่มหลั่งไหลไปยังส่วนต่างๆของโลกอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันประเทศผู้บุกเบิกก็ถือโอกาสำคริสต์ศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในประเทศที่ติดต่อทำการค้า หรือดินแดนที่เข้ายึดครองและจัดตั้งเป็นอาณานิคม การเผยแผ่ใช้ทั้งสันติวิธีโดยคณะนักบวชที่เรียกว่า บาทหลวง ทำหน้าที่สอนศาสนาและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแลพการศึกษาแก่คนพื้นเมือง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจใช้วิธีรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้คนพื้นมืองในบางดินแดนซึ่งถือว่าเป็นพวกนอกรีต (heresy) ให้หันมายอมรับนับถือคริสต์ศาสนา และเป็นนโยบายของประเทศด้วย เช่น ในคริสต์ศตวรรษที่16 สเปนใช้ศาลศาสนาเป็นเครื่องมือในการส่งกองทหารเข้าทำลายล้างอารยธรรมของเผ่ามายา (Maya) แอสเต็ก (Aztec) และอินคา (Inca) ในทวีปอเมริกาใต้ โดยใช้เหตุผลว่าชนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นพวกนอกศาสนาและบีบบังคับให้นับถือคริตส์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก จนในที่สุดคริสต์ศาสนานิการโรมันคาทอลิกก็สามารถหยั่งรากลึกในดินแดนของโลกใหม่นับแต่นั้นเป็นต้นมา

1.4.2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและระบบการค้า

1.4.2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและระบบการค้า
การขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรปไปยังส่วนต่างๆของโลกๆได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของโลกตะวันตกเองด้วย เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำลายระบบสมาคมเปลี่ยนแปลงระบบสมาคมอาชีพ (guild) หรือสมาคมการค้าประเภทหนึ่งประเภทใดที่มีมาตั้งแต่สมัยกลาง การค้นพบดินแดนใหม่และการจัดตั้งสถานีการค้าและอาณานิคมช่วยให้ชาติตะวันตกขยายตัวทางการค้าอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดเกิดการปฏิวัติการค้า (commercial revolution) การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าของชาวยุโรปที่ทำกันในระดับท้องถิ่นหรือภูมิภาคได้ขยายขอบเขตกว้างขวางไปทั่วโลก มีการใช้เงินตราและเกิดระบบพาณิชยนิยม (mercantile system) ในระบบนี้รัฐบาลของกษัตริย์เข้าควบคุมการผลิตและการค้า เน้นการส่งออก กีดกันสินค้านำเข้า และแสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและเป็นแหล่งระบายสินค้าในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 รัฐต่างๆในโลกตะวันตกได้ยึดถือนโยบายแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นนโยบายหลักในการสร้างความมั่งคั่งและความมั่นคงให้แก่ประเทศ เพราะถือว่าทรัพยากรต่างๆทั่วโลกมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆทั้งโดยสันติวิธีและความรุนแรงเพื่อเป็นเจ้าของทรัพยากรนั้น เพื่อนำความอุดมสมบูรณ์และอำนาจมาสู่รัฐของตน ในช่วงนี้บรรดาพ่อค้าและนายทุนได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทรวมทุน (joint stock company)ขึ้น เปิดโอกาสให้บุคคลร่วมกันลงทุนเพื่อขยายการค้าละผูกขาดสินค้าต่างๆ โดยมีรัฐหรือกษัตริย์ให้การสนับสนุน บริษัทรวมทุนดังกล่าวนี้จะทำการค้าในนามของประเทศและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประเทศของตนให้สามารถยึดครองดินแดนต่างๆในพระนามของกษัตริย์ ตัวอย่างเช่น บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้ก่อตั้งมลรัฐเวอร์จิเนีย มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ในทวีปอเมริกาเหนือ และเบิกทางให้รัฐบาลอังกฤษสามารถเข้าครอบครองอินเดียในเวลาต่อมา และบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาเข้าควบคุมศูนย์กลางการค้าเครื่องเทศในช่องแคบมะละกา เป็นต้น บรรดาพ่อค้านายทุนที่มีบทบาทในบริษัทร่วมทุนดังกล่าวนี้ก็ล้วนแต่มีฐานะมั่นคงจากผลกำไรของการค้า และกลายเป็นบุคคลชั้นสูงที่มีบทบาทสำคัญในด้านารเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม และเป็นคู่แข่งขันสำคัญของชนชั้นขุนนางเจ้าของที่ดิน ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในแนวทางใหม่ทางด้านระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของโลกตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

นอกจากนี้การขยายตัวทางการค้าอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก การค้นพบเหมืองแร่เงินและทองในทวีปอเมริกา และการหลั่งไหลของแร่ที่มีค่าดังกล่าวมาสู่ทวีปยุโรปทำให้เกิด การปฏิวัติทางราคา (price revolution) สินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัวในคริตส์ศตวรรษที่ 16 และ 17 การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าอย่างมากนี้ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันของชาวตะวันตกในด้านสังคมและเศรษฐกิจแบบเก่าแก่สิ้นสุดลง รัฐบาลในหลายๆประเทศต่างพยายามหาวิธีการใหม่ๆที่จะเพิ่มรายรับให้ทันกับรายจ่าย โดยทั่วไปคนยากจนจะได้รับผลกระทบต่อการปฏิวัติทางราคานี้มากที่สุด เพราะนอกจากจะต้องซื้อสินค้าที่ราคาแพงแล้ว ยังต้องรับภาระการจ่ายภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

1.4.3) การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ

1.4.3) การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ
การสำรวจทางทะเลและการขยายอิทธิพลของชาวตะวันตก มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมด้วย กล่าวคือ ก่อให้เกิดการกระจายและแพร่พันธุ์สัตว์และพืชจากถิ่นกำเนิดไปยังภูมิภาคอื่นๆทั่วโลก ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวดัตซ์ได้นำต้นกาแฟจากตะวันออกกลางมาปลูกที่เกาะชวาเพื่อให้เป็นพืชเศรษฐกิจแทนเครื่องเทศที่ทำกำไรได้น้อยลง จนในที่สุดกาแฟได้กลายเป็นสินค้าสำคัญอย่างหนึ่งของภูมิภาคนี้ ยิ่งไปกว่านั้นกาแฟยังได้แพร่หลายไปยังทวีปอเมริกาใต้กลายเป็นผู้ผลิตกาแฟที่มีปริมาณรวมกันได้4ใน5ของผลผลิตทั่วโลก นอกจากนี้ก็มีผู้นำเอาต้นยางพาราจากบราซิลมาปลูกในแถบทะเลใต้ (South Seas) และได้แพร่กระจายไปยังอินโดนีเซีย มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย จนประเทศต่างๆเหล่านี้กลายเป็นแหล่งผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก หรือแม้กรทั่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่ชาวตะวันตกไปบุกเบิกในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็มีการนำเอาแกะไปแพร่พันธุ์ จนปัจจุบันออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นผู้ผลิตขนแกะที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าครึ่งหนึ่งของประมาณที่ผลิตทั่วโลก พืชผลของทวีปอเมริกาที่มีคุณค่าทางอาหารและเติบโตได้ง่าย เช่น ข้าวโพดและมันฝรั่งแพร่หลายอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นอาหารสำคัญของชาวยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ในทางกลับกันสัตว์หลายประเภทที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในทวีปอเมริกา เช่น ลา ล่อ วัว แพะ ก็กลายเป็นสัตว์ที่จำเป็นในการใช้เป็นพาหนะในการคมนาคมขนส่งหรือใช้เป็นอาหารในทวีปอเมริกา นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่โรคบางชนิดที่เคยมีเฉพาะยุโรปไปยังดินแดนอาณานิคม ขณะเดียวกันชาวยุโรปก็ได้รับเชื้อโรคจากดินแดนอาณานิคมกลับไปเผยแพร่ในเมืองแม่ด้วย

การที่ชาติตะวันตก โดยเฉพาะสเปน โปรตุเกส และอังกฤษ ขยายอิทธิพลเข้าสู่ดินแดนอื่น ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในดินแดนทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ชาวตะวันตกมีความรู้เรื่องภูมิศาสตร์ชาติต่างๆดีขึ้น มีการพัฒนาการด้านวิชาการและเทโนโลยีมากขึ้น เช่น การเดินเรือ การสำรวจดินแดนใหม่ๆ การทำสงคราม เป็นต้น ส่วนดินแดนอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของชาติตะวันตกก็ต้องยอมรับภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมของชาติตะวันตกเข้ามา อารยธรรมเก่าแก่จึงถูกทำลาย ทำให้สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมของประชากรในดินแดนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังที่ปรากฏอย่างชัดเจนในอเมริกากลางและอเมริกาใต้

2.การฟื้นฟูศิลปะวิทยา

หมายถึง การเกิดใหม่(rebirth)ของการศึกษา การฟื้นฟูอุดมคติศิลปะและวรรณกรรมของกรีกและโรมัน เป็นยุคเริ่มต้นของการแสวงหาสิทธิเสรีภาพและความคิดอันไร้ขอบเขตที่เคยถูกจำกัด สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และสิ้นสุดในกึ่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยถือว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ(transitional period)ของประวัติศาสตร์สมัยกลางและสมัยใหม่

2.1สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปวิทยา

การขยายตัวทางการค้าทำให้ฐานะทางการเงินของชาวยุโรป โดยเฉพาะอิตาลีมั่งคั่งขึ้น จึงหันมาสนับสนุนด้านศิลปะและวิทยาการ เกิดแนวคิดใหม่ที่มุ่งหวังให้บุคคลในอุดมคติมีความรู้ความสามารถในทุกด้าน เช่น ทางวิชาการ กีฬา ศิลปวัฒนธรรม บรรดาเจ้านครในนครรัฐอิตาลี จึงหันมาสนับสนุนด้านศิลปวิทยาจำนวนมากเพื่อให้ราชสำนักของตนมีชื่อเสียงโด่งดัง อีกสาเหตุหนึ่ง คือ ที่ตั้งที่เคยเป็นแหล่งความเจริญรุ่งเรืองของจักรวรรดิโรมัน ดังนั้นนักปราชญ์และศิลปินจึงให้ความสนใจในศิลปะและวิทยาการของชาวโรมันเป็นพิเศษ

สภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่13ทำให้ทัศนคติต่อการครองชีพเปลี่ยนไปกลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีและปฏิเสธกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของฝ่ายศาสนจักร การทุจริตทำให้คนเสื่อมศรัทธาในสถาบันคริสต์ศาสนาและหันไปสนใจงานสร้างสรรค์ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

สงครามครูเสดและการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ (ค.ศ.1453) ทำให้วิทยาการแขนงต่างๆของชาวโรมันและกรีกที่ได้สืบทอดเอาไว้หลั่งไหลกลับคืนไปทางตะวันตกอีกครั้ง โดยเฉพาะในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 15ประชาชนและนักปราชญ์ทางตะวันออกอพยพเข้าสู่แหลมอิตาลี พร้อมกับนำหนังสือวิทยาการของกรีก-โรมันเข้ามาด้วย ทำให้มีต้นฉบับเดิมของศาสตร์ต่างๆไว้ศึกษาอย่างกว้างขวาง

2.2แนวคิดใหม่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

2.2แนวคิดใหม่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ในสมัยกลาง ชาวตะวันตกเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมาแต่กำเนิด การมีชีวิตอยู่เป็นการไถ่บาป เพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์ ทัศนคตินี้ทำให้ชาวตะวันตกหมดความสนใจต่อความสวยงามของโลก เมื่อเกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาขึ้น แนวคิดทางโลกของชาวตะวันตกก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยและเห็นว่า มนุษย์สามารถพัฒนาชีวิตตนเองให้ดี มีคุณค่าได้โดยการศึกษา แนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของลัทธิมนุษยนิยม(humanism) ที่ให้ความสนใจโลกปัจจุบันแทนการมุ่งไปสวรรค์

นักปราชญ์คนแรกที่มีบทบาทสำคัญและได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งมนุษยนิยม คือ ฟรันเซสโก เปตรากา เทปราก (Francessco Petrarca Petrarch ค.ศ.1304-1374) ซึ่งพยายามศึกษาการใช้ภาษาละตินตามแบบแผนเดิมและชี้ให้เห็นถึงความงามของภาษาละติน




ความสนใจในวรรณคดีคลาสสิกของเทปราก ส่งผลให้ลูกศิษย์และผู้นิยมงานเขียนสมัยคลาสสิกแสวงหางานเก่าๆ และงานเขียนเก่าๆได้รับการศึกษาค้นคว้าและคัดลอกอย่างกว้างขวาง ผู้สนใจในงานคลาสสิกของสมัยโบราณหรือเรียกว่า พวกมนุษยนิยม (humanist) ได้รับการยกย่องในความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาละติน และได้รับการเชื้อเชิญให้เป็นราชเลขาธิการและอาจารย์ประจำราชสำนัก ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่สารบรรณในสำนักสันตะปาปา



ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 นักปราชญ์ชาวกรีกจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลเริ่มอพยพจากการรุกรานของพวกมุสลิมมายังแหลมอิตาลี และสมัครเป็นอาจารย์สอนภาษากรีกในราชสำนักและโรงเรียนต่างๆ ทำให้พวกมนุษยนิยมชาวอิตาลีมีความรู้ในภาษาและวัฒนธรรมของกรีก สามารถนำวรรณคดีและปรัชญาของกรีกมาแปลเป็นภาษาละตินเผยแพร่ในยุโรปตะวันตกมากขึ้น

ในค.ศ.1454 โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenburg ค.ศ.1400-1468) สามารถผลิตเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้สำเร็จ ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง และเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆได้กว้างขวาง ทำให้ความนึกคิดและความสนใจของประชากรในดินแดนต่างๆมีความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น

นักมนุษยนิยมส่วนมากจะศรัทธาในคริสต์ศาสนา แต่ความมีศรัทธามิได้ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของปัจเจกบุคคล นักมนุษยนิยมมีความคิดที่ว่าคริสต์ศาสนิกชนควรจะแยกตัวจากการครอบงำทางความคิดของศาสนจักร เพื่อแสวงหาสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตอย่างเป็นประโยชน์ ซึ่งความคิดนี้เป็นรากฐานการกบฏของคริสต์ศาสนิกชนต่อสถาบันสันตะปาปาที่กำลังเสื่อมโทรม ที่นำไปสู่การต่อต้านวิธีปฏิบัติต่างๆของศาสนจักรที่ขัดต่อข้อกำหนดในพระคัมภีร์ไบเบิล ทำให้เกิดการปฏิรูปทางศาสนาใน ค.ศ. 1517

ในสมัยกลาง งานสร้างสรรค์ศิลปะแขนงต่างๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับคริสต์ศาสนาโดยเฉพาะ ศิลปินไม่สามารถถ่ายทอดจินตนาการและความคิดเสรีในการสร้างงานของตนเองได้ ดังนั้นงานศิลปะส่วนใหญ่มีลักษณะแข็งกระด้างและขาดชีวิตชีวา

ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานับเป็นการปฏิวัติแขนงหนึ่ง เพื่อให้หลุดพ้นจากอิทธิพลของคริสต์ศาสนาในสมัยกลาง ประติมากรในสมัยนี้หวนกลับไปนิยมวิธีการของกรีก-โรมันที่สร้างงานศิลปะที่เป็นธรรมชาติ โดยหันมาให้ความสนใจต่อความสวยงามของสรีระร่างกายมนุษย์ มีการค้นคว้าเทคนิคใหม่ๆในการผสมสี กลวิธีการวาดภาพปูนเปียก(fresco) ให้ความสำคัญของแสงและเงา รวมทั้งมิติและการจัดองค์ประกอบของภาพ ศิลปินที่สำคัญที่มีชื่อเสียงได้แก่ มีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี (Michelangelo Buonarroti ค.ศ.1475-1564) เลโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da Vinci ค.ศ. 1452-1519) และราฟาเอล (Raphael ค.ศ. 1483-1520)

มีเกลันเจโล เป็นศิลปินผู้มีชื่อเสียงทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ซึ่งเขาสนใจด้านประติมากรรมมากที่สุด โดยเฉพาะรูปสลักผู้ชายเปลือยแสดงสัดส่วนและกล้ามเนื้อที่สมส่วนของร่างกาย เพราะเขาคิดว่ามนุษย์เกิดจากฝีพระหัตถ์ของพระผู้เป็นเจ้า จึงนับว่าเป็นรูปลักษณ์ที่งดงามที่สุด งานประติมากรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียง ได้แก่ รูปสลักเดวิด (David) เป็นชายหนุ่มเปลือยกายที่อยู่ในท่าเตรียมต่อสู้กับศัตรู และปิเอตา (Pieta) เป็นรูปสลักพระมารดากำลังประคองพระเยซูในอ้อมพระกรหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแล้ว งานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้บนเพดานและฝาผนังของโบสถ์ซีสติน (Sistine Chapel) ในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ภาพส่วนใหญ่แสดงส่วนสัดต่างๆของร่างกายชายหญิง ซึ่งเป็นแนวเขียนใหม่ที่ผิดไปจากประเพณีการวาดรูปในโบสถ์วิหารอื่นๆ


เลโอนาร์โด ดา วินซี เป็นศิลปินและนักปราชญ์ที่มีความรู้และความสามารถเป็นเลิศในสาขาจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วิศวกรรม ชีววิทยา กายวิภาคศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และนำความรู้ต่างๆมาถ่ายทอดในรูปแบบของงานจิตรกรรมได้เป็นอย่างดี งานของเขาเต็มไปด้วยบรรยากาศที่เป็นจริง การใช้โทนสีที่นุ่มนวล ทำให้ลักษณะของภาพมีความละเมียดละไมและแฝงไว้ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ของความรักความเมตตา อันเป็นลักษณะโดยทั่วไปของนักมนุษยนิยม ภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) เป็นภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซูก่อนถูกนำไปตรึงไม้กางเขน โมนาลิซา (Mona Lisa) เป็นภาพหญิงสาวที่มีรอยยิ้มอันชวนฉงน โดยมีบรรยากาศของธรรมชาติที่ปกคลุมด้วยหมอกเป็นพื้นของรูป

ราฟาเอล มีผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความประณีตนิ่มนวล ภาพที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตร และจอห์น แบบติสต์ (Madonna and Child with St.John) แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ ดูเป็นปุถุชนธรรมดา ภาพเขียนของเขานับเป็นตัวอย่างที่ดีที่เน้นให้เห็นบทบาทและความสำคัญของปัจเจกบุคคล พระกุมารในภาพแสดงถึงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กที่ถูกเพิกเฉยในสมัยกลาง และเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ใหญ่หันมาให้ความรักและความสนใจเด็กมากขึ้น

งานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองในยุคนี้ที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของความคิดในกรอบและกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดของคริสต์ศาสนา ได้แก่ บทร้อยกรองซอนเนต(Sonnet) ของเทปราก ดิแคเมอรอน (Decameron) ของโจวันนี บอกกัชโช (Giovanni Boccaccio ค.ศ. 1313-1375) ซึ่งเป็นนิยายชวนหัวที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะของมนุษย์และความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นต้น

งานวรรณกรรมด้านนาฏกรรมหรือบทละคร ก็มีการรับอิทธิพลของบทละครกรีก โดยนำมาปรับให้เข้ากับรสนิยมของชาวตะวันตกในสมัยนั้น นักประพันธ์ที่สำคัญ ได้แก่ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare ค.ศ. 1564-1616) บทละครที่มีชื่อเสียงของเขา คือ โรมีโอและจูเลียต (Romeo and Juliet) เวนิสวาณิช (The Merchant of Venice) เป็นต้น บทละครเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัยและการตัดสินใจมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆ



อาจกล่าวได้ว่า งานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมของสังคมตะวันตกที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ได้วางรากฐานความเจริญด้านต่างๆให้แก่ชาติตะวันตกเป็นอันมาก ชาวตะวันตกจึงก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 16 อย่างมีเหตุผลและโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น เกิดความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆในการเดินเรือสำรวจดินแดนโพ้นทะเลนอกทวีปยุโรป นำความรู้มาใช้จนเกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และทางความคิดในยุคภูมิธรรม ทำให้สังคมตะวันตกเกิดการเปลี่ยนแปลงจนยุโรปก้าวมาเป็นชาติมหาอำนาจ และมีส่วนช่วยให้โลกตะวันตกถ่ายทอดวัฒนธรรมที่สะสมมานานไปยังส่วนต่างๆของโลก

3.1สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา

3.1สาเหตุของการปฏิรูปศาสนา ได้แก่

ความเป็นอยู่ของสันตะปาปาและพระชั้นสูงบางองค์มีความฟุ่มเฟือย สะสมทรัพย์สมบัติไว้ให้ลูก ขัดต่อความรู้สึกที่ว่าพระควรจะมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย พระบางองค์ยังเรียกเก็บภาษีสูงขึ้นเพื่อเอาไปใช้จ่ายในคริสตจักรที่กรุงโรม มีการซื้อขายตำแหน่ง ประกอบกับชาวยุโรปมีการศึกษาที่สูงขึ้นจึงไม่เชื่อคำสั่งสอนของฝ่ายศาสนจักรและเกิดความคิดที่จะปรับปรุงศาสนาให้บริสุทธิ์
สันตะปาปามีฐานะเป็นเจ้าผู้ปกครองฝ่ายศาสนจักร ศูนย์กลางที่กรุงโรม เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของยุโรป และสันตะปาปาเข้าไปครอบงำรัฐต่างๆในเยอรมัน ทำให้เจ้าผู้ครองแคว้นต้องการเป็นอิสระทั้งจากจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันและจากผู้รักษาอำนาจของคริสตจักร คือ สันตะปาปา
ศาสนจักรมุ่งเน้นพิธีกรรมมากเกินไป ทำให้ประชาชนบางส่วนต้องการทำความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาเพิ่มขึ้น จนนักคิดเสนอว่ามนุษย์ควรเข้าถึงพระเจ้าและทำความเข้าใจในคัมภีร์ไบเบิลด้วยตัวเองมากกว่าผ่านทางพิธีกรรม

สันตะปาปาจูเลียตที่ 2 (Juliet II ค.ศ. 1506-1514)และสันตะปาปาลีโอที่ 10 (Leo X ค.ศ. 1514-1521) ต้องการงบประมาณในการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม จึงส่งคณะสมณทูตมาขายใบยกโทษบาป (Indulgence Certificate) ในดินแดนเยอรมัน ใบยกโทษบาปเป็นอนุโมทนาบัตรแสดงว่าได้ชำระเงินตามกำหนดเพื่อพ้นจากบาป แต่ด้วยภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านคริสตจักรหลายกลุ่ม

3.2 การเริ่มปฏิรูปศาสนา

3.2 การเริ่มปฏิรูปศาสนา
การขายใบยกโทษบาป ทำให้มาร์ติน ลูเทอร์ (Martin Luther ค.ศ. 1484-1546) ประท้วงด้วยการปิดประกาศคำประท้วง 95 ข้อ (Ninety-Five Theses) โดยประกาศว่า สันตะปาปาไม่ควรเก็บภาษีเพื่อนำไปสร้างวิหารเซนต์ปีเตอร์และสันตะปาปาไม่ได้เป็นเพียงผู้เดียวที่นำมนุษย์ไปสู่พระเจ้า ประกาศดังกล่าวถือเป็นการประท้วงที่มีศาสนจักรอันเป็นที่มาของนิกายโปรเตสแตนต์ (Protestants) คำประกาศได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในเขตเยอรมัน

ค.ศ. 1521 มาร์ติน ลูเทอร์ ได้รับคำสั่งจากจักรพรรดิชาลส์ที่ 5 (Charles V ค.ศ. 1519-1556) ให้ไปเข้าประชุมสภาแห่งเวิร์ม เขาถูกกล่าวหาจากจักรพรรดิว่ามีทีท่าเป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนาและเป็นบุคคลนอกศาสนา แต่เจ้าผู้ครองแคว้นแซกโซนีได้อุปถัมภ์ไว้ เขาได้แปลคัมภีร์ไบเบิลจากภาษาละตินเป็นภาษาเยอรมัน ทำให้ความรู้แพร่หลายมากขึ้น


หลังจากนั้น พวกเจ้านายได้แตกแยกเป็นสองฝ่าย ได้แก่ เจ้าผู้ครองแคว้นทางเหนือ ซึ่งสนับสนุนมาร์ติน ลูเทอร์ กับเจ้าผู้ครองแคว้นทางใต้ ซึ่งสนับสนุนคริสตจักรโรมันคาทอลิก ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ในที่สุดก็มีการสงบศึกโดยทำสนธิสัญญาสันติภาพแห่งเอากส์บูร์ก (The Peace of Augsburg) โดยให้แต่ละแตว้นมีสิทธิเลือกนับถือนิกายลูเทอร์หรือนิกายโรมันคาทอลิก

นิกายลูเทอร์มีหลักปฏิบัติ การดำเนินงาน พิธีกรรมทางศาสนาและลักษณะของนักบวชเป็นแบบคาทอลิก แต่นักบวชในนิกายลูเทอร์สามารถมีครอบครัวได้เพราะเป็นเพียงผู้สอนศาสนา และยังคงมีการรักษาพิธีกรรมบางข้อไว้ เช่น ศีลจุ่มและศีลมหาสนิท ลัทธินี้ มีกรอบความคิดว่า ความหลุดพ้นทางวิญญาณของชาวคริสต์จะสามารถมีได้ก็เนื่องจากการยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า จนพระองค์ทรงเมตตาเท่านั้น

ผลของการปฏิรูปทางศาสนาก่อให้เกิดนิกายโปรเตสแตนต์ โดยแบ่งเป็น

- นิกายลูเทอร์ แพร่หลายในเยอรมันและประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียน
- นิกานคาลวิน แพร่หลายในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์และสกอตแลนด์
- นิกายอังกฤษหรือแองกลิคัน เป็นนิกายประจำประเทศอังกฤษ

3.3การปฏิรูปของศาสนจักร

3.3การปฏิรูปของศาสนจักร

เมื่อเกิดการปฏิรูปศาสนา คริสตจักรที่กรุงโรมได้พยายามต่อต้านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยวิธีต่างๆ ได้แก่

ศาสนจักรจัดการประชุมสังคายนาพระศาสนาที่เมืองเทรนต์ (The Council of Trent) ใช้เวลา 18 ปีมีบทสรุปดังนี้
- สันตะปาปาทรงเป็นประมุขของคริสต์ศาสนา

- การประกาศหลักธรรมทางศาสนาต้องให้ศาสนจักรเป็นผู้ประกาศแก่ศาสนิกชน

- คัมภีร์ไบเบิลต้องเป็นภาษาละติน

- ยกเลิกการขายใบยกโทษบาปและตำแหน่งทางศาสนา มีการกำหนดระเบียบวินัยมาตรฐานการศึกษาของพระและให้ใช้ภาษาพื้นเมืองในการสอนศาสนา

ศาสนจักรได้ตั้งศาลศาสนาเพื่อลงโทษพวกนอกศาสนา โดยพิจารณาความผิดของพวกนอกศาสนาคาทอลิก และชาวคาทอลิกที่มีความเห็นแตกต่างจากศาสนจักร ซึ่งมีการลงโทษโดยเผาคนผิดทั้งเป็น
การต่อต้านการปฏิรูปศาสนาของคริสตจักรกระทำได้ผล คือ นิกายโรมันคาทอลิกสามารถป้องกันไม่ให้ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกหันไปนับถือนิกายโปรเตสแตนต์เพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่สามารถดึงศาสนิกชนโปรเตสแตนต์ให้กลับมานับถือนิกายโรมันคาทอลิกได้

3.4 ผลของการปฏิรูปศาสนา

การปฏิรูปก่อให้เกิดผลกระทบ ได้แก่

- คริสตจักรตะวันตกแตกแยกเป็น 2 นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิด มีสันตะปาปาเป็นประมุข กับนิกายโปรเตสแตนต์

- เกิดกระแสชาตินิยมในประเทศต่างๆ ทั้งในประเทศที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ ความเป็นเอกภาพทางศาสนาของยุโรปสิ้นสุดลง

- เกิดการแข่งขันระหว่างนิกายต่างๆ มีการปรับปรุงสิ่งบกพร่องเพื่อเรียกศรัทธาและก่อให้เกิดขันติธรรมในการอยู่ร่วมกับผู้นับถือนิกายต่างกัน

- สภาพสังคมเปลี่ยนไป นิกายโปรเตสแตนต์ได้สนับสนุนการประกอบอาชีพด้านการค้าและอุตสาหกรรม ระบบทุนนิยมในยุโรปจึงเจริญเติบโต

- ระบบรัฐชาติแข็งแกร่งขึ้น การเกิดนิกายโปรเตสแตนต์ส่งเสริมวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น

- ผลของการแตแยกทางศาสนา ทำให้เกิดสงครามศาสนาขึ้นหลายครั้ง การเกิดสงครามทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีอำนาจเหนือคริสตจักร เพราะสันตะปาปาต้องอาศัยอำนาจกษัตริย์ที่นับถือคาทอลิกทำการต่อต้านกษัตริย์ที่นับถือโปรเตสแตนต์

4.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ

4.1 ปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐชาติ

4.1.1 การขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้า
การเปิดเส้นทางการเดินเรือใหม่ๆ การครอบครองดินแดนใหม่ในช่วงคริสต์ศต- วรรษที่ 15 -16 ทำให้เครือข่ายการค้าขยายตัวขึ้น โดยเพิ่มทั้งด้านระดับการค้า ปริมาณและชนิดของสินค้า มีผลทำให้ทองคำ และเงินจากดินแดนต่างๆ ได้หลั่งไหลเข้าสู่ดิน แดนยุโรป พวกพ่อค้า และนายทุน ซึ่งเป็นพวกที่ได้รับประโยชน์จากการขยายตัวทางด้านการค้า กลายเป็นชนชั้นที่มีบทบาทในสังคม ชนกลุ่มนี้เองที่ให้การสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ทางด้านการเงิน เพื่อนำไปสร้างเป็นฐานอำนาจทางการเมืองและทางทหารในการรวมชาติ ส่วนกษัตริย์ก็ให้ความสะดวก และความคุ้มครองแก่เหล่าพ่อค้าให้ปลอดภัยจากโจรสลัดที่คอยดักปล้นตามเส้นทางการค้า

4.1.2 ความเสื่อมของขุนนาง
ในช่วงต้นสมัยใหม่ ขุนนางในระบบฟิวดัลอ่อนแอลง เพราะบาดเจ็บและล้มตาย จากการรบในสงครามครูเสดเป็นจำนวนมาก และยังหมดสิ้นเงินจำนวนมากไปกับการทำสงครามด้วย ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อ ทำให้ขุนนางต้องขายทรัพย์สินให้แก่พ่อค้า ขุนนางจึงยากจนลง จนไม่สามารถสะสมกำลังในการสร้างความวุ่นวายให้กษัตริย์ได้อีกต่อไป แต่กลับต้องพึ่งการอุปถัมภ์ของกษัตริย์เป็นสำคัญ ทำให้ขุนนางกลายเป็นข้าราชบริพารของกษัตริย์ ยิ่งเท่ากับเพิ่มอำนาจของกษัตริย์ให้มากขึ้นในการสร้างชาติ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในการปกครองประเทศ

4.1.3 ความสำนึกในความเป็นชาติ
ความสำนึกในความเป็นชาติเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ภาษาของตนในดินแดนต่างๆ เช่น สเปน โปรตุเกส ฝรังเศส อังกฤษ แทนภาษาละตินที่เคยใช้มาแต่เดิม การมีภาษาของตนเองก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ และความจงรักภักดีต่อชาติของตนในเวลาต่อมา

4.2 กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

4.2 กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทวีปยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน และ
อังกฤษ เกิดการล่มสลายของระบบฟิวดัล มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ ที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองด้วยพระราชอำนาจที่เด็ดขาด มีระบบการบริหารที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ทางฝ่ายประชาชนก็ยินยอม และจงรักภักดีต่อพระมหา กษัตริย์ที่เป็นประมุข

การที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เติบโตขึ้นมาได้ มาจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การพัฒนาด้านการค้า การแสวงหาดินแดนอาณานิคม และนโยบายการค้าแบบพาณิชยนิยม พวกพ่อค้านายทุนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการค้า ทำให้พวกนี้สนับสนุนรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง ที่มีอำนาจในการคุ้มครองกิจการของพวกตน สาเหตุเหล่านี้ทำให้ฐานะของกษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปฏิรูปทางศาสนา ยังทำให้คริสตจักรแตกแยก และอ่อนแอลง ประชาชนจึงหันมาจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น

อำนาจเทวสิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดของคริสต์ศาสนา คือ แนวความคิดเรื่องความมีอำนาจของพระเจ้า กับแนวความคิดชาตินิยม แนวความคิดทั้งสอง เป็นพื้นฐานที่มาของอำนาจกษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์ทรงได้รับอำนาจเทวสิทธิ์จากพระเจ้าให้มาปกครองรัฐ และประชาชน

5.1 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

5.1 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ได้ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ในค.ศ. 1454 ประดิษฐกรรมดังกล่าวนี้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาสู่สังคมตะวันตก เพราะการพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่ ทำให้การรับรู้วิทยา การต่างๆขยายขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น ในที่สุดก็ทำให้ชาวตะวันตกเริ่มตระหนักถึงความสามารถที่ปราศจากข้อจำกัดของมนุษย์ นอกจากนี้ ข่าวสารจากความสำเร็จของการเดินเรือรอบโลก และการค้นพบดินแดนโพ้นทะเล ยังทำให้หลายคนเกิดความเชื่อมั่นในสติปัญญา และศักยภาพของชาวตะวันตก ในการพิชิตธรรมชาติ เพื่อยกระดับการ ดำรงชีพให้ดีขึ้นได้ สิ่งดังกล่าวนี้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้นักคิดหันมาใช้วิธีค้นหาความจริงจากธรรมชาติด้วยการหาเหตุผล การสังเกต และการทดลอง จนในที่สุดก็ทำให้การศึกษาแบบดั้งเดิมที่อาศัยแต่เพียงการคาดคะเนกลายเป็นวิธีการที่ล้าสมัย

การพัฒนาวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่ออารยธรรมตะวันตก และทำให้ชาติตะวันตกเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนเป็นประเทศมหาอำนาจมาจนถึงปัจจุบันนี้

5.1.1) สภาพภูมิหลังของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

5.1.1) สภาพภูมิหลังของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติทางวิทยาศาสต์เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมระยะเวลาหลายศตวรรษ มิได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดอย่างรวดเร็วเช่นลักษณะของการปฏิวัติทางการเมือง งานทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของชาวตะวันตกมาช้านานตั้งแต่สมัยกลางแล้ว การติดต่อกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ และตะวันออกกลางทำให้วิทยาการของกรีก และอาหรับเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป วิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เช่น ดาราศาสตร์ กลศาสตร์ ถูกนำมาบรรจุในหลักสูตรการสอนของมหาวิทยาลัยตะวันตก ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 12 – 13

ความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์นี้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในยุคการฟื้นฟูศิลปวิทยาระหว่างคริสตศตวรรษที่ 14 – 17 ที่ชาวตะวันตกหันไปมุ่งฟื้นฟูงานด้านวรรณคดี และศิลปกรรมของกรีก และโรมันโบราณ ศิลปินที่สำคัญของยุค เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี และ มีเกลันเจโล ต่างใช้หลักการของวิชากายวิภาคศาสตร์ อันเป็นวิชาแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ในการศึกษากล้ามเนื้อ และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ และนำความรู้ดังกล่าวนี้ไปสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ทั้งทางด้านจิตรกรรม และประติมากรรมที่แสดงให้เห็นถึงสัดส่วน และความงดงามของมนุษย์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์ ยังทำให้ชาวตะวันตกค้นพบคุณสมบัติของเลนส์ที่นำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของกล้องส่องทางไกล และกล้องดูดาว ซึ่งช่วยในการเดินเรือ และพัฒนาเทคนิคใหม่ๆในการต่อเรือ จนทำให้ชาวตะวันตกสามารถขยายพรมแดน และอิทธิพลไปยังดินแดนโพ้นทะเลได้ ความสำเร็จของการบุกเบิกดังกล่าวนี้มีส่วนเร่งให้มีการศึกษาค้นคว้าในวิชาดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์อย่างลึกซึ้ง จนในที่สุดก็สามารถพัฒนาเครื่องมือในการวัด และการคำนวณอย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาในการเดินเรือ ทำให้การเดินเรือมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยมากขึ้น

นอกจากนี้ วิทยาศาสตร์ยังทำให้ชาวตะวันตกเริ่มเป็น กบฏทางความคิด ต่ออำ นาจเหนือธรรมชาติของพระเป็นเจ้า ตามคำสอนของคริสต์ศาสนา วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทำให้ประชาชนต้องการหาคำตอบให้แก่ความลี้ลับของธรรมชาติที่สามารถอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ได้

ในคริสตศตวรรษที่ 17 รัฐบาลประเทศต่างๆยังส่งเสริม และกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะมองเห็นว่างานด้าน วิทยาศาสตร์ และการประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ชาติของตน และนำประเทศไปสู่ผลประโยชน์ และอำนาจในส่วนต่างๆของโลกได้ ดังนั้นจึงมีการตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติตามดินแดนต่างๆทั่วไปในทวีปยุโรป ทั้งนี้ กษัตริย์ เจ้านคร หรือผู้มีฐานะมั่งคั่งให้เงินทุนสนับสนุนในการวิจัย และการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนี้ ได้ประสานงานในการแลกเปลี่ยนเอกสาร และข้อมูลการค้นคว้า มีการจัดพิมพ์รายงานผลการทดลอง และการวิจัยเป็นภาษาละติน ซึ่งถือว่าเป็นภาษาสากล เผยแพร่ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆ
ในที่สุดก็ทำให้งานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แลเทคโนโลยีของชาติตะวันตกขยายตัวอย่างรวดเร็ว กว้างขวาง ช่วยยกมาตรฐานของนักวิทยาศาสตร์ ให้มีบทบาทสูงในสังคม และเป็นที่ยอมรับนับถือกันโดยทั่วไป

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

5.1.2) นักวิทยาศาสตร์

5.1.2) นักวิทยาศาสตร์
พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรกเป็นการศึกษา เพื่อตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของนักปราชญ์ในสมัยนั้น อันเป็นการศึกษาข้อสมมติฐานดั้งเดิมจากอดีตโดยพยายามค้นหาทฤษฎี และความรู้ใหม่ๆ เพื่อล้มล้างกฎเกณฑ์เก่าๆที่เคยมีมา นักปราชญ์หรือนักวิทยาศาตร์คนแรกที่ได้รับการยกย่องว่ามีคุณูปการต่อการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ได้แก่ นิโคเลาส์ โคเพอร์นิคัส ( Nicolaus Copernicus ค.ศ.1473 – 1543 ) ชาวโปแลนด์ ในค.ศ. 1543 ได้ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์อธิบายระบบสุริยจักรวาลในหนังสือชื่อ On the Revolutions of the Heavenly Bodies ว่าโลกมิได้หยุดนิ่ง หรือเป็นศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาล แต่ดาวเคราะห์ทุกดวง รวมทั้งโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ( heliocentric ) ทฤษฎีของโคเพอร์นิคัสเป็นการลบล้างคำสั่งสอนของศาสนจักรในสมัยกลาง ซึ่งรวมถึงความเชื่อของชาวตะวันตกที่มีมาแต่สมัยกรีกโบราณที่ยึดข้อสมมติฐานของอาริสโตเติล( Aristotle ) และงานเขียนของโตเลมี ( Ptolemy ) เรื่อง แอลมะเจสท์( Almagest ค.ศ.150 ) ซึ่งอธิบายว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล( geocentric )

ในปีเดียวกันนั้น กาลิเลโอ กาลิเลอิ ( Galileo Galilei ค.ศ.1564 - 1642) อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยปาดัว ( Padau ) และมหาวิทยาลัยปิซา( Pisa ) แห่งอิตาลี ก็สามารถประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ เพื่อสังเกตดูการเคลื่อนไหวของดวงดาว ซึ่งทำให้เขาแลเห็นพื้นผิวขรุขระของดวงจันทร์ว่าแตกต่างไปจากโลก ดาวพฤหัสมีดวงจันทร์เช่นเดียวกับโลก แต่จำนวนมากกว่า และดวงอาทิตย์มีจุดดับที่เคลื่อนที่ได้ ข้อสังเกตของกาลิเลโอ ทำให้นักดาราศาตร์ได้ข้อสรุปใหม่ๆเกี่ยวกับความลี้ลับของจักรวาล และการเคลื่อนตัวของระบบสุริยจักรวาลตามทฎษฎีของโคเพอร์นิคัส ในค.ศ.1632 กาลิเลโอได้รวบรวมผลการสำรวจนานนับสิบปีของเขาพิมพ์เผยแพร่ เพื่อโต้แย้งกับความคิดเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาของกรีก โดยใช้ชื่อหนังสือว่า คำถามคำตอบเกี่ยวกับสองทฤษฎีสำคัญของโลก ( Dialogue on the Two Chief Systems of the World ) แต่ความคิดเห็นของเขาที่ขัดแย้งกับคำสอนของคริสตศาสนาด้วย ได้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบโต้อย่างรุนแรงจากศาสนจักร ในที่สุด กาลิเลโอก็ถูกศาสนจักรลงโทษด้วยการประณาม ตลอดจนถูกข่มขู่ต่างๆ
เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon ค.ศ. 1561 – 1626 ) นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้วางรากฐาน และทัศนคติใหม่ดังกล่าวนี้ ในงานเขียนสำคัญ 3 เล่มของเขา อันได้แก่ The Advancement of Learning ( ค.ศ. 1605 ) Novum Organum ( ค.ศ. 1620 ) New Atlantis ( ค.ศ. 1627 ) ซึ่งกระตุ้นให้ชาวอังกฤษ และรัฐบาลหันมาสนใจ และยอมรับความสำคัญของงานด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้นเป็นลำดับ จนในที่สุดได้เป็นแรงบันดาลใจให้มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสมาคม หรือ Royal Society of London for the Promotion of Natural Knowledge เพื่อส่งเสริมงานค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ขึ้นใน ค.ศ. 1660
ในฝรั่งเศส เรอเน เดการ์ต ( René Descartes ค.ศ. 1596 - 1650 ) นักปรัชญา และนักคณิตศาสตร์ก็ได้นำหลักของการใช้เหตุผล และการค้นคว้าวิจัย มาใช้ในการแสวงหาความรู้ โดยวางหลักเกณฑ์เป็นทฤษฎีใหม่ๆ ให้เห็นถึงความสำคัญของการวิเคราะห์ทางคณิตศาสาตร์ ว่าสามารถนำมาใช้ในการพิสูจน์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ เดการ์ตถือว่างานด้านคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาเรขาคณิตเป็นหลักความจริง( axioms ) ที่สามารถสืบสาวความจริงของงานวิทยาศาสตร์ทุกระดับได้ วึ่งรวมทั้งคำอธิบายเกี่ยวกับระบบจักรวาล( universe )ด้วย หนังสือของเขาเรื่อง Discourse of Method( ค.ศ. 1637 ) ถือว่าเป็นข้อเขียน และทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่สร้างจิตวิญญาณ( spirit )ของแนวทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และมีอิทธิพลต่อความคิดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นต่อมาเป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษ
ในปลายคริศต์ศตวรรษที่ 17 เซอร์ไอแซก นิวตัน ( sir Isaac Newton ค.ศ. 1642 - 1727 ) ชาวอังกฤษ นับว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เด่นที่สุด การค้นพบกำแรงดึงดุดของจักรวาล ( Law of Universal Atrraction ) และกฎแห่งความโน้มถ่วง ( Law of Gravity ) ของเขา โดยอาศัยหลักคณิตศาสตร์ของเดการ์ต และแนวการศึกษาของเคปเลอร์ และกาลิเลโอ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่า โลกและดาวเคราะห์ต่างๆหมุนรอบดวงอาทิตย์ได้อย่างไร และดวงจันทร์หมุนรอบโลกโดยไม่หลุดออกจากวงโคจรได้อย่างไร รวมทั้ง สาเหตุที่ทำให้วัตถุต่างๆต้องตกลงสู่พื้นดิน แทนที่จะหลุดลอยไปในอากาศ หนังสือของนิวตันเรื่องหลักคณิตศาสตร์ ( Principia Mathematica ) ในภาษาละติน หรือเป็นที่รู้จักกันในภาษาอังกฤษว่า The mathematical Principles of Natural Knowledge ( ค.ศ. 1687 ) ถือได้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่เพียงแต่มีความสำคัญที่สุดในการศึกษาประวัติวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อประวัติศาสตร์ความคิดของมนุษยชาติด้วย

นอกจากนี้การค้นพบของนิวตันดังกล่าว ยังช่วยเปิดโลกทัศน์ของนักวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจเรื่องของจักรวาล สสาร พลังงาน ตลอดจนการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดยอาศัยวิธีการทางคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ และทำความเข้าใจกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งต่อมาได้เป็นหัวใจของวิชากลศาสตร์ ยิ่งไปกว่านั้น นักวิทยาศาสตร์ก็จะจำกัดความคิดของตนเองในกรอบของคำถามที่ว่า อย่างไร ( how ) แทนคำถามที่ว่า ทำไม(why ) ในการค้นหาสาเหตุของกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้โลกของนักวิทยาศาสตร์ในคริสตศตวรราที่ 17 จึงเป็นเสมือนโลกของจักรกล ที่ปรากฏการณ์ต่างๆมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว และสามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทดลอง ปฏิบัติ และวิธีการทางคณิตศาสตร์ และถือว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็น ภาษาของธรรมชาติ ( language of nature ) ที่จะไขปัญหาให้มนุษย์เข้าใจในลักษณะเฉพาะของธรรมชาติได้

5.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

5.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความสำเร็จของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงต่อพัฒนาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิทยาการด้านต่างๆ ได้มีการนำเอาทฤษฎีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์มากขึ้น การพัฒนาเครื่องจักรกล และเทคโนโลยีการผลิตจึงเกิดขึ้นพร้อมๆกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จนในที่สุดในกลางคริสตศ์ตวรรษที่ 18 เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการ และระบบผลิตดั้งเดิม จากการใช้แรงงานของคน สัตว์ และพลังงานธรรมชาติ มาเป็นการใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรกล ในระบบโรงงานแทนระบบการจ่ายงานให้ไปทำตามบ้าน ( putting-out system ) เพื่อผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจำนวนมาก

กระบวนการผลิตแบบโรงงานดังกล่าวนี้ ทำให้เกิด ระบบอุตสาหกรรมนิยม ( Industrialism )ขึ้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้าๆแต่ต่อเนื่อง เป็นเวลานานนับศตวรรษ เช่นเดียวกับการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ และต่อมาได้แพร่หลายไปในประเทศตะวันตกต่างๆ และส่วนอื่นๆของโลก

ความหมายของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงคน แรงสัตว์ หรือแรงธรรมชาติ และใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรที่มีความสลับซับซ้อนและอาศัยพลังงาน ทำให้ผลิตได้ปริมาณมาก

อาจกล่าวได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มขึ้นในโลกตะวันตก ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต และแบบแผนความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกมุมโลกจากสังคมเกษตร เป็นสังคมกึ่งเกษตร กึ่งอุตสาหกรรม หรือ สังคมอุตสาหกรรม และมีผลกระทบให้เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และรวดเร็วกว่ายุคใดๆในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ทั้งทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ

5.2.1) สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเป็นประเทศแรก

5.2.1) สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเป็นประเทศแรก

1.) การปฏิวัติเกษตรกรรม
บรรดาประเทศต่างๆในยุโรปช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษเป็นประเทศที่เจริญมั่งคั่งที่สุด และประชากรโดยทั่วไปต่างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าที่อื่นๆ ทั้งนี้เพราะอังกฤษได้เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรม ( Agricultural Revolu tion ) เป็นประเทศแรก การปฏิวัติดังกล่าวนี้ เกิดจากการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาการมาปรับปรุงการเกษตรกรรมให้ได้ผลดีขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 16 รัฐบาลออกพระราชบัญยัติล้อมเขตที่ดิน ( Enclosure Acts ) มาใช้ในการปรับปรุงเพิ่มผลการผลิตทางการเกษตร ระบบปิดล้อมทำให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนให้เป็นผืนใหญ่ผืนเดียวกัน และกั้นรั้วล้อมให้เป็นสัดส่วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์ การคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม ตลอดจนการป้องกันการเสียหายของพืช จากการทำลายโดยคน และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังทำให้สามารถนำเอาวิธีการเกษตร กรรมแบบใหม่ๆ เช่น เครื่องหว่านเมล็ดพืช และเครื่องกำจัดวัชพืช มีใบมีดติดกับล้อคันไถมาช่วยในการปรับปรุงวิธีการทำนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฏิวัติเกษตรกรรมจึงทำให้อังกฤษมีความรุ่ งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก และมีอาหารอุดมสมบูรณ์พียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากรทั้งประเทศ ซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะประชากรในเขตเมืองที่จะเป็นแรงงานสำคัญต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมของประเทศ

นอกจากนี้ การที่อังกฤษจัดตั้งธนาคารกลางของประเทศ คือธนาคารแห่งอังกฤษ ( Bank of England ) ขึ้นใน ค.ศ. 1694 ทำให้นครลอนดอนไม่เป็นเพียงศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของยุโรป แต่ยังเป็นแหล่งระดมเงินทุนของรัฐบาสที่ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาการ การส่งเสริม และจัดตั้งโรงงานอุตสาหรรมต่างๆได้อีกด้วย 2.) คุณสมบัติเฉพาะตัวของชาวอังกฤษ

ความสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษมิได้เกิดขึ้นจากความมั่งคั่งของประเทศเพียงประการเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของชาวอังกฤษที่กล้าได้กล้าเสีย และกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆอันเป็นผลมากจากอิทธิพลของคริสต์ศาสนานิกายอังกฤษ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของนิกายโปรเตสแตนท์ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ชาวอังกฤษโดยทั่วไปมีความเชื่อว่า ความมั่งคั่งทางโภคทรัพย์เป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิต ที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศของตนเอง และครอบครัว ทัศนคติดังกล่าวนี้จึงทำให้ชนชั้นขุนนางในอังกฤษไม่เคร่งครัดต่อการแบ่งแยกชนชั้นในสังคมเท่ากับพวกขุนนางในประเทศอื่น ๆในทวีปยุโรป และให้การยอมรับบุคคลจากชนชั้นอื่นที่สามารถสร้างฐานะเป็นปึกแผ่นได้ นอกจากนี้ขุนนางอังกฤษก็ไม่มีความรังเกียจที่จะลดตัว มาลงทุนทำการค้าเพื่อแข่งขันกับบรรดาพ่อค้าต่างๆอีกด้วย ขณะเดียวกันบรรดาพวกชนชั้นกลาง เช่น คหบดีชนบทรายย่อย ( minor gentry ) และชาวนาเจ้าของที่ดิน ( yeoman ) ต่างก็พยายามใช้ความสามารถของตนทุกวิถีทาง เพื่อยกสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมของตนให้ทัดเทียมกับพวกชนชั้นขุนนาง ทัศนคติทางวัตถุธรรมดังกล่าวจึงทำให้ชาวอังกฤษโดยทั่วไปเห็นการค้าขายเป็นงานมีเกียรติ ไม่ถือตัวที่จะประกอบอาชีพธุรกิจ พร้อมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ถ้าจะทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจของตนมั่งคั่ง และมั่นคงยิ่งขึ้น

3.) การขยายตัวของตลาดการค้า
อังกฤษเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านการค้ามากกว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป นโยบายการค้าแบบเสรี และยกเลิกการเก็บภาษีการขนถ่ายสินค้าผ่านด่านก่อนประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้กระตุ้นให้มีการขยายตัวของตลาดการค้าภายในอย่างกว้าง ขวาง นอกจากนี้สมาชิกของรัฐสภาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยนักธุรกิจ และพ่อค้า ก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ตลาดการค้าขยายตัวอีกด้วย ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการออกพระราชบัญญัติหลายฉบับในการสร้างถนน ท่าจอดเรือ และขุดคูคลองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้า ซึ่งมีผลให้การขนถ่ายสินค้าทั่วทั้งประเทศเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้เข้ารบในสงครามประเทศคู่แข่งขันในการขยายอำนาจทางทะเล และสามารถยึดครองดินแดนโพ้นทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งวัตถุดิบดั้งในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกา การครอบครองอาณานิคมดังกล่าวนี้ ทำให้อังกฤษสามารถขยายปริมาณสินค้าส่งออก และเพิ่มจำนวนตลาดการค้าในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว จนการค้ากลายเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่ต้องให้การส่งเสริม และคุ้มครอง กองทัพเรือของอังกฤษจึงมิได้ทำหน้าที่เพียงแต่การป้องกันประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องรักษาเส้นทางการค้าทางทะเล และให้ความคุ้มครองแก่เรือพาณิชย์ที่เดินทางไปค้าขายในที่ต่าง ๆทั่วโลกอีกด้วย

ปัจจัยดังกล่าวนี้ ทำให้การวางรากฐานอุตสาหกรรมในอังกฤษมีความมั่นคงกว่าที่อื่น ๆ และก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ชาวอังกฤษในการค้นคิดหาวิธีการผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดได้มีการค้นคิดประดิษฐ์เครื่องจักร และเครื่องทุ่นแรงต่างๆ มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา

5.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

5.2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
ความสำเร็จของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงต่อพัฒนาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิทยาการด้านต่างๆ ได้มีการนำเอาทฤษฎีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์มากขึ้น การพัฒนาเครื่องจักรกล และเทคโนโลยีการผลิตจึงเกิดขึ้นพร้อมๆกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จนในที่สุดในกลางคริสตศ์ตวรรษที่ 18 เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการ และระบบผลิตดั้งเดิม จากการใช้แรงงานของคน สัตว์ และพลังงานธรรมชาติ มาเป็นการใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรกล ในระบบโรงงานแทนระบบการจ่ายงานให้ไปทำตามบ้าน ( putting-out system ) เพื่อผลิตสินค้าชนิดเดียวกันจำนวนมาก

กระบวนการผลิตแบบโรงงานดังกล่าวนี้ ทำให้เกิด ระบบอุตสาหกรรมนิยม ( Industrialism )ขึ้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างช้าๆแต่ต่อเนื่อง เป็นเวลานานนับศตวรรษ เช่นเดียวกับการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ โดยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ และต่อมาได้แพร่หลายไปในประเทศตะวันตกต่างๆ และส่วนอื่นๆของโลก

ความหมายของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตจากเดิมที่ใช้แรงคน แรงสัตว์ หรือแรงธรรมชาติ และใช้เครื่องมือแบบง่ายๆ มาเป็นกระบวนการผลิตที่ใช้เครื่องจักรที่มีความสลับซับซ้อนและอาศัยพลังงาน ทำให้ผลิตได้ปริมาณมาก

อาจกล่าวได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว การปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เริ่มขึ้นในโลกตะวันตก ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต และแบบแผนความเป็นอยู่ของมนุษย์ทุกมุมโลกจากสังคมเกษตร เป็นสังคมกึ่งเกษตร กึ่งอุตสาหกรรม หรือ สังคมอุตสาหกรรม และมีผลกระทบให้เปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง และรวดเร็วกว่ายุคใดๆในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ทั้งทางกายภาพ สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ

5.2.1) สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเป็นประเทศแรก

5.2.1) สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษเป็นประเทศแรก

1.) การปฏิวัติเกษตรกรรม
บรรดาประเทศต่างๆในยุโรปช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษเป็นประเทศที่เจริญมั่งคั่งที่สุด และประชากรโดยทั่วไปต่างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่าที่อื่นๆ ทั้งนี้เพราะอังกฤษได้เกิดการปฏิวัติเกษตรกรรม ( Agricultural Revolu tion ) เป็นประเทศแรก การปฏิวัติดังกล่าวนี้ เกิดจากการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาการมาปรับปรุงการเกษตรกรรมให้ได้ผลดีขึ้น โดยเริ่มต้นตั้งแต่ประมาณกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 16 รัฐบาลออกพระราชบัญยัติล้อมเขตที่ดิน ( Enclosure Acts ) มาใช้ในการปรับปรุงเพิ่มผลการผลิตทางการเกษตร ระบบปิดล้อมทำให้เจ้าของที่ดินรายใหญ่สามารถรวบรวมที่ดินของตนให้เป็นผืนใหญ่ผืนเดียวกัน และกั้นรั้วล้อมให้เป็นสัดส่วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการบำรุงรักษาดินให้อุดมสมบูรณ์ การคัดเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะสม ตลอดจนการป้องกันการเสียหายของพืช จากการทำลายโดยคน และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ยังทำให้สามารถนำเอาวิธีการเกษตร กรรมแบบใหม่ๆ เช่น เครื่องหว่านเมล็ดพืช และเครื่องกำจัดวัชพืช มีใบมีดติดกับล้อคันไถมาช่วยในการปรับปรุงวิธีการทำนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฏิวัติเกษตรกรรมจึงทำให้อังกฤษมีความรุ่ งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก และมีอาหารอุดมสมบูรณ์พียงพอที่จะเลี้ยงดูประชากรทั้งประเทศ ซึ่งกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะประชากรในเขตเมืองที่จะเป็นแรงงานสำคัญต่อการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมของประเทศ

นอกจากนี้ การที่อังกฤษจัดตั้งธนาคารกลางของประเทศ คือธนาคารแห่งอังกฤษ ( Bank of England ) ขึ้นใน ค.ศ. 1694 ทำให้นครลอนดอนไม่เป็นเพียงศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญของยุโรป แต่ยังเป็นแหล่งระดมเงินทุนของรัฐบาสที่ให้การสนับสนุนความก้าวหน้าทางวิทยาการ การส่งเสริม และจัดตั้งโรงงานอุตสาหรรมต่างๆได้อีกด้วย 2.) คุณสมบัติเฉพาะตัวของชาวอังกฤษ

ความสำเร็จของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษมิได้เกิดขึ้นจากความมั่งคั่งของประเทศเพียงประการเดียวเท่านั้น แต่ยังเกิดจากคุณสมบัติเฉพาะตัวของชาวอังกฤษที่กล้าได้กล้าเสีย และกระตือรือร้นต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆอันเป็นผลมากจากอิทธิพลของคริสต์ศาสนานิกายอังกฤษ ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของนิกายโปรเตสแตนท์ ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ชาวอังกฤษโดยทั่วไปมีความเชื่อว่า ความมั่งคั่งทางโภคทรัพย์เป็นความสำเร็จสูงสุดของชีวิต ที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติเพื่อชื่อเสียงเกียรติยศของตนเอง และครอบครัว ทัศนคติดังกล่าวนี้จึงทำให้ชนชั้นขุนนางในอังกฤษไม่เคร่งครัดต่อการแบ่งแยกชนชั้นในสังคมเท่ากับพวกขุนนางในประเทศอื่น ๆในทวีปยุโรป และให้การยอมรับบุคคลจากชนชั้นอื่นที่สามารถสร้างฐานะเป็นปึกแผ่นได้ นอกจากนี้ขุนนางอังกฤษก็ไม่มีความรังเกียจที่จะลดตัว มาลงทุนทำการค้าเพื่อแข่งขันกับบรรดาพ่อค้าต่างๆอีกด้วย ขณะเดียวกันบรรดาพวกชนชั้นกลาง เช่น คหบดีชนบทรายย่อย ( minor gentry ) และชาวนาเจ้าของที่ดิน ( yeoman ) ต่างก็พยายามใช้ความสามารถของตนทุกวิถีทาง เพื่อยกสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมของตนให้ทัดเทียมกับพวกชนชั้นขุนนาง ทัศนคติทางวัตถุธรรมดังกล่าวจึงทำให้ชาวอังกฤษโดยทั่วไปเห็นการค้าขายเป็นงานมีเกียรติ ไม่ถือตัวที่จะประกอบอาชีพธุรกิจ พร้อมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ถ้าจะทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจของตนมั่งคั่ง และมั่นคงยิ่งขึ้น

3.) การขยายตัวของตลาดการค้า
อังกฤษเป็นประเทศที่มีความเจริญทางด้านการค้ามากกว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป นโยบายการค้าแบบเสรี และยกเลิกการเก็บภาษีการขนถ่ายสินค้าผ่านด่านก่อนประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้กระตุ้นให้มีการขยายตัวของตลาดการค้าภายในอย่างกว้าง ขวาง นอกจากนี้สมาชิกของรัฐสภาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยนักธุรกิจ และพ่อค้า ก็มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ตลาดการค้าขยายตัวอีกด้วย ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการออกพระราชบัญญัติหลายฉบับในการสร้างถนน ท่าจอดเรือ และขุดคูคลองต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้า ซึ่งมีผลให้การขนถ่ายสินค้าทั่วทั้งประเทศเป็นไปด้วยความสะดวกสบาย และรวดเร็วยิ่งขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้เข้ารบในสงครามประเทศคู่แข่งขันในการขยายอำนาจทางทะเล และสามารถยึดครองดินแดนโพ้นทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งวัตถุดิบดั้งในทวีปเอเชีย และทวีปอเมริกา การครอบครองอาณานิคมดังกล่าวนี้ ทำให้อังกฤษสามารถขยายปริมาณสินค้าส่งออก และเพิ่มจำนวนตลาดการค้าในต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว จนการค้ากลายเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลที่ต้องให้การส่งเสริม และคุ้มครอง กองทัพเรือของอังกฤษจึงมิได้ทำหน้าที่เพียงแต่การป้องกันประเทศเท่านั้น แต่ยังต้องรักษาเส้นทางการค้าทางทะเล และให้ความคุ้มครองแก่เรือพาณิชย์ที่เดินทางไปค้าขายในที่ต่าง ๆทั่วโลกอีกด้วย

ปัจจัยดังกล่าวนี้ ทำให้การวางรากฐานอุตสาหกรรมในอังกฤษมีความมั่นคงกว่าที่อื่น ๆ และก่อให้เกิดแรงจูงใจแก่ชาวอังกฤษในการค้นคิดหาวิธีการผลิตสินค้าต่าง ๆ ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนในที่สุดได้มีการค้นคิดประดิษฐ์เครื่องจักร และเครื่องทุ่นแรงต่างๆ มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเกิดเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมในเวลาต่อมา

5.2.2) อุตสาหกรรมทอผ้ากับความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

5.2.2) อุตสาหกรรมทอผ้ากับความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ เกิดจากการนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม ในค.ศ. 1712 ทอมัส นิวโคแมน (Thomas Newcoman ค.ศ. 1663 – 1729 ) สามารถสร้างเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไอน้ำเพื่อสูบน้ำออกจากเหมืองถ่านหิน ต่อมาในค.ศ. 1729 เจมส์ วัตต์ ( James Watt ค.ศ. 1736 - 1819 ) ได้ปรับปรุงเครื่องจักรของนิวโคแมนให้ใช้ในอุตสากรรมทอผ้าได้สำเร็จ งานค้นคิดประดิษฐ์เครืองมือ และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องมาเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการทอผ้าเท่านั้น ในค.ศ. 1733 จอห์น เคย์ ( John Kay ค.ศ. 1704 - 1780 ) ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก ( Flying shuttle ) ซึ่งช่วยให้ช่างทอสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า จนทำให้ขาดแคลนเส้นด้ายสำหรับการทอผ้า ในค.ศ. 1764 เจมส์ ฮากรีฟส์ ( James Hargreaves ค.ศ. 1720 – 1778 ) สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการสร้างเครื่องปั่นด้าย สปินนิง เจนนี ( spinning jenny ) ที่ปั่นด้ายได้พร้อมกันทีละ 16 เส้น

ต่อมาในค.ศ. 1769 ริชาร์ด อาร์คไรต์ ( Richard Arkwright ค.ศ. 1732 – 1792 ) เขาได้ปรับปรุงเครื่องปั่นด้านสปินนิงเจนนีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนแรงคน และเรียกเครื่องปั่นด้ายชนิดนี้ว่า วอเตอร์ เฟรม ( water frame ) เครื่องปั่นด้ายของอาร์คไรต์ นี้นับเป็นก้าวสำคัญของการเริ่มต้นการผลิตสิ่งทอในอังกฤษ จากที่ทำกันในบ้าน หรือโรงนา มาเป็นระบบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ในเวลาไม่ช้าก็ได้เกิดการจัดตั้งโรงงานทอผ้าตามริมฝั่งแม่น้ำลำธารต่าง ๆทั่วทั้งประเทศ มีผลให้ราคาของผ้าฝ้ายลดลจนเป็นสินค้าที่ทุกคนหาซื้อได้โดยง่าย ในช่วงเวลานี้ อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนปริมาณฝ้ายที่ส่งมาจากอารานิคมในทวีปเอเชียไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน อังกฤษจึงต้องหันไปขยายตลาดค้าฝ้ายกับอาณานิคมในทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เอไล วิตนี ( Eli Whitney ) สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรกลคอตตันยิน ( Cotton Gin ) ที่แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใยได้สำเร็จในค.ศ. 1793 ซึ่งทำให้ราคาต้นทุนของการผลิตฝ้ายมีราคาถูกลงอีก


ระหว่างค.ศ. 1780 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤาได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงกว่า 8 เท่าตัว ปริมาณการขยายตัวดังกล่าวนี้ได้เพิ่มสูงมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อโรงงานทอผ้าต่าง ๆ ได้นำเอาเครื่องจักรไอน้ำ ( steam engine ) ที่เจมส์ วัตต์คิดประดิษฐ์ในค.ศ. 1769 มาใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงานน้ำ อย่างไรก็ดีจนกระทั่ง ค.ศ. 1800 เจมส์ วัตต์ และหุ้นส่วนขายเครื่องจักรไอน้ำได้ไม่ถึง 300 เครื่อง แต่อีก 50 ปีต่อมา อุตสาหกรรมการทอผ้าส่วนใหญ่ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกล และทำให้โรงงานทอผ้าของอังกฤษไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำธารอีกต่อไป

5.2.3) การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

5.2.3) การขยายตัวของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำไม่เพียงแต่ทำให้อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ และมีผลให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในดินแดนอื่น ๆของยุโรป ตลอดจนสหรัฐอเมริกาด้วย

ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อังกฤษสามารถผลิตเหล็กได้ประมาณปีละ 25,000 ตัน เท่านั้น ซึ่งมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมหนักประเภทต่างๆ ที่ต้องอาศัยเหล็กเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต อีกทั้งการถลุงเหล็กในระยะแรกของการปฏิวัติอุตสาหกรรมยังไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ เพราะยังคงใช้ฟืน และถ่านไม้ ( charcoal ) ที่ให้ความร้อนต่ำเป็นเชื้อเพลิง อย่างไรก็ดี เมื่อเครื่องจักรไอน้ำได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้นแล้ว ก็ได้มีการนำถ่านโค้ก ( coke ) ซึ่งเป็นถ่านหิน ( coal ) ที่ผ่านกระบวนการเผาจนหมดควันแล้วนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหลอมโลหะ การพัฒนาเครื่องจักรกลที่ใช้ไอน้ำ และการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงดังกล่าวนี้ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กของอังกฤษสามารถขยายปริมาณผลิตได้อย่างรวดเร็วจนมีปริมาณถึง 1 ล้านตัน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีจำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการขยายอุตสาหกรรมภายในประเทศ

ใน ค.ศ. 1784 เฮนรี คอร์ต ( Henry Cort ค.ศ. 1740 - 1800 ) ได้คิดค้นวิธีการหลอมเหล็ก ให้ได้เหล็กบริสุทธิ์ที่มีคุณภาพดีขึ้น โดยปราศจากโลหะอื่นเจือปน และต่อมาได้พัฒนาวิธีการตัดเหล็ก และวิธีการหลอมเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆตามต้องการได้ ทำให้กองทัพของชาติตะวันตก สามารถปรับปรุงคุณภาพของปืนใหญ่ ( cannon ) และปืนคาบศิลา ( musket ) ตลอดจนยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
นอกจากนี้ การพัฒนาคุณภาพของเหล็กดังกล่าวประกอบกับการประดิษฐ์เครื่องจักรกลไอน้ำก็มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนโฉมหน้าของสังคมตะวันตก และทำให้สังคมตะวันตกโดยทั่วไปเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว เกิดการปฏิวัติทางคมนาคมขนส่ง การสร้าง และพัฒนาเรือกลไฟที่ใช้พลังน้ำ ให้เป็นพาหนะสำคัญในการคมนาคมขนส่งทางน้ำ ทั้งในระยะใกล้และไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1830 โลกได้เข้าสู่ ยุคม้าเหล็ก เมื่ออังกฤษได้เปิดเส้นทางรถไฟไอน้ำสายแรก ซึ่งวิ่งระหว่างเมืองลิเวอร์พูล ( Liverpool ) และเมืองแมนเชสเตอร์ ( Manchester ) ต่อมาอีก 10 ปี อังกฤษมีเส้นทางรถไฟ ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญของประเทศ รวมกันได้ประมาณ 1,280 กิโลเมตร และเพิ่มมากกว่า 7 เท่า เป็น 9,600 กิโลเมตร ในค.ศ. 1850 เส้นทางรถไฟดังกล่าวเหล่านี้ นอกจากจะทำให้การขนส่งสินค้าต่างๆจากโรงงานไปสู่ตลาด เป็นไปอย่างสะดวกสบาย แล้วยังนำความเจริญจากเมืองเข้าสู่ชนบท

ความสำเร็จของการปฏิรูปอุตสาหกรรมของอังกฤษกลายเป็นแรงกระตุ้นให้ประเทศอื่นๆในแผ่นดินใหญ่ของยุโรป รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ของโลกหันมาสนใจอย่างจริงจังต่อกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จนในที่สุด ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาก็สามารถก้าวมาเป็นคู่แข่งขันในเชิงอุตสาหกรรมกับอังกฤษได้

5.2.4) ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรรม

5.2.4) ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรรม

1.) ด้านสังคม
ผลกระทบพื้นฐานที่สำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วของทั่วโลก สาเหตุสำคัญของการเพิ่มจำนวนประชากรดังกล่าว เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ ความสมบูรณ์ของอาหาร ตลอดจนการปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดการขยายตัวของสังคมเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความเจริญทางวัตถุของสังคมต่าง ๆ และการเติบโตของระบบอุตสาหกรรมนิยมทำให้ชาวชนบทจำนวนมากหลั่งไหลเข้าเมือง เพื่อขายแรงงานตามโรงงานต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาที่พักอาศัยชุมชนแออัด ปัญหาความสกปรก และการแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบในอัตราค่าจ้าง เป็นต้น ซึ่งสถาบันแบบดั้งเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แนวคิดของระบบสังคมนิยม( socialism ) ของคาร์ล มากซ์ ( Karl Marx ค.ศ. 1818 - 1833 ) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกัน เพื่อต่อสู้โค่นล้มระบบทุนนนิยม ( capitalism ) จึงเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลมากขึ้นในการเมืองของยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่มีความสเมอภาค และปราศจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเมือง
2.) ด้านเศรษฐกิจ
ในค.ศ. 1776 แอดัม สมิท ( Adam smith ค.ศ. 1723 – 1790 ) ศาสตรา จารย์ แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ( Glasgow ) ประเทศอังกฤษ ได้พิมพ์เผยแพร่งานเขียนชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ ( Wealth of Nations ) เพื่อให้รัฐบาลเห็นด้วยว่า ความมั่น คงของประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี ( laissez faire ) ที่รัฐบาลควรปล่อยให้เอกชนประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี โดยปราศจากการควบคุม หลักการของระบบการค้าแบบเสรีดังกล่าว ทำให้ชนชั้นกลางของหลายประเทศในยุโรปมีบท บาทสูงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม
3.) ด้านการเมือง
ชนชั้นกลางได้กลายเป็นกลุม่นักการเมือง ส่งเสริมให้มีระบอบการปก ครองแบบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ ส่วนพวกชนชั้นกรรมกรในโรงงานอุตสา หกรรรมก็ได้รวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการปกครองด้วย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กรรมกรในอังกฤษได้จัดตั้งสหภาพแรงงาน ( Labor Union ) ขึ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน และเป็นตัวแทนของประชาชนคนธรรมดา จนในที่สุด ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็สามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทำให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิในการเลือกตั้ง

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้ชาวตะวันตกมองโลก และสังคมด้วยทรรศนะที่เป็นจริงมากขึ้น เช่นในด้านการเมือง ประมุขหรือผู้นำของประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มพิจารณาปัญหาการเมืองจากสภาวการณ์ที่เป็นจริง และมีแนวนโยบายปฏิบัติอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นจากวิชาดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ล้าหลังของยุโรป เปลี่ยนแปลงเป็นประเทศอุตสาหกรรมอันทันสมัย การผลิตสินค้าที่เคยได้ปริมาณน้อยก็ขยายตัวเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ( mass production ) ทำให้ชาวยุโรปส่วนใหญ่มีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น และชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในสังคมมากขึ้น เกิดการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในนานาประเทศในยุโรป

ผลการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมมิได้จำกัดบทบาทแต่ในกลุ่มชาติตะวันตกเท่านั้น แต่ได้หลั่งไหลไปยังภูมิภาคต่างๆ ตามกระแสของอารยธรรมตะวันตก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม แลการเมือง ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วม ในกลุ่มประเทศกึ่งเกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม หรือประเทศอุตสาหกรรม

6. ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย

6. ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตย
การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ที่เริ่มขึ้นในสังคมตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ไม่เพียงก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคนิค ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การปฏิวัติทางภูมิปัญญา (Intellectual Revolution) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อีกด้วย วิธีการทางวิทยาศาสตร์และการหลุดพ้นจากอำนาจของคริสต์ศาสนจักร ทำให้ชาวตะวันตกกล้าใช้เหตุผลเพื่อแสดงความคิดเห็นทางสังคมและการเมืองมากขึ้น และเชื่อมั่นว่าความมีเหตุผลสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตและสังคมให้ดีขึ้นได้ การแสดงความคิดเห็นทางสังคมและการเมือง ตลอดจนการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมในการปกครองจึงเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 18 การพัฒนาการด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษนี้จึงเปรียบเสมือนแสงสว่างที่ส่องนำทางให้โลกตะวันตกเป็นสังคมที่รุ่งโรจน์ในวิชาการต่างๆ ทำให้ผู้มีความรู้ต่างๆ ทำให้ผู้มีความรู้ มีสติปัญญาและความคิด ตลอดจนความสามารถได้รับการยกย่องจากสังคมมากขึ้น และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้ชาติตะวันตกเข้าสู่ความเจริญในยุคใหม่ ดังนั้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงได้รับสมญาว่าเป็น ยุคภูมิธรรม (The Age of Enlightenment)

6.1 นักปราชญ์การเมืองแนวประชาธิปไตย

6.1 นักปราชญ์การเมืองแนวประชาธิปไตย
นักคิดคนสำคัญที่วางรากฐานของปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย ได้แก่ ทอมัส ฮอบส์ จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (Philosophs) ของฝรั่งเศส เช่น มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ ชอง-ชาคส์ รูโซ
1. ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679) นักปรัชญาชาวอังกฤษ แนวคิดด้านการเมืองของฮอบส์ ปรากฏในหนังสือ ลีไวอาทัน (Leviathan) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นเอกของฮอบส์ ฮอบส์กล่าวว่าก่อนหน้าที่มนุษย์จะมาอยู่รวมกันเป็นสังคมการเมือง มนุษย์มีอิสระและเสรีภาพในการกระทำใดๆ ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความวุ่นวาย มนุษย์จึงตกลงกันที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่ปกครองเพื่อให้เกิดสังคมการเมืองที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยแต่ละคนยอมเสียสละอำนาจสูงสุดของตนให้แก่ฝ่ายปกครองทั้งนี้ประชาชนมีสิทธิเลือกการปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยมีข้อผูกมัดว่าทุกคนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ซึ่งจะเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับประชาชนต่อไป จะเห็นว่าแม้ฮอบส์จะนิยมระบอบกษัตริย์ แต่ก็มีแนวความคิดว่าอำนาจของกษัตริย์ไม่ใช่อำนาจของเทวสิทธิ์หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ แท้จริงแล้วเป็นอำนาจที่ประชาชนยินยอมพร้อมใจมอบให้ ส่วนทางศาสนจักรนั้น ฮอบส์มีความเห็นว่าไม่ควรเข้ามาเกี่ยวกับการปกครองของรัฐ

นอกจากนี้ฮอบส์ ยังโจมตีความเชื่อทางศาสนาของมนุษย์ว่าเป็นเรื่องไร้เหตุผล มนุษย์ควรมีชีวิตอย่ด้วยเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ควรอยู่ด้วยความเชื่องมงาย อย่างไรก็ตามฮอบส์มิได้ปฏิเสธพระเจ้า แต่ปฏิเสธพิธีกรรมและผู้นำทางศาสนา
2. จอห์น ล็อก (John Locke ค.ศ. 1632-1704) นักปรัชญาชาวอังกฤษ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Two Treatises of Government (ค.ศ. 1689) แนวคิดหลักของหนังสือ คือ การเสนอทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

แนวคิดทางการเมืองของล็อกอาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น รัฐต้องไม่เข้าแทรกแซงในกิจการของปัจเจกชน นอกจากในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้นั้น แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส

3. บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu ค.ศ. 1689-1755) หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ เซ็กกองดาต์ (Charies Louis de Secondat) ขุนนางฝรั่งเศส เป็นผู้เขียนหนังสือ เรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Laws) ซึ่งใช้เวลาศึกษาค้นคว้ากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1748 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์อีก 22 ครั้ง และแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ เกือบทุกภาษา

แนวคิดหลักของหนังสือเรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมายสรุปได้ว่ากฎหมายที่รัฐบาลแต่ละสังคมบัญญัติขึ้นต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเงื่อนไขทางนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม แต่การปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด นอกจากนี้อำนาจการปกครองควรแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ การแบ่งอำนาจดังกล่าวเป็นเสมือนการสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงอำนาจ (check and balance system) จะช่วยไม่ให้ผู้ปกครองหรือคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาลใช้อำนาจแบบเผด็จการได้

แนวคิดในทางการเมืองของมองเตสกิเออร์ ในหนังสือเล่มนี้ มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตก รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ใช้แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์เป็นหลัก

4. วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778) มีชื่อจริงว่า ฟรองซัว-มารี อารูเอ (Francois – Marie Arouet) เป็นนักคิดและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส วอลแตร์ประทับใจในระบอบการปกครองของอังกฤษมาก และตั้งใจจะใช้งานเขียน คัดค้านการปกครองแบบเผด็จการ และต่อต้านความงมงายไร้เหตุผล ตลอดจนเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางด้านต่างๆ
ความคิดดังกล่าวของวอลแตร์ สะท้อนออกในหนังสือเรื่องจดหมายปรัชญา (The Philo – sophical Letters) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letter on the English) เนื้อหาของหนังสือโจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ที่หล้าหลังของฝรั่งเศส นอกจากนี้วอลแตร์ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศฝรั่งเศสให้ทันสมัยเหมือนอังกฤษ
อย่างไรก็ดี แม้วอลแตร์จะต่อต้านความอยุติธรรมในสังคมและความไร้ขันติธรรมทางศาสนาตลอดจนระบบอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แต่ในด้านการเมืองเขาก็ไม่เคยแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนต่อรูปแบบการปกครองที่เขาพึงพอใจ หรือต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองอย่างถอนรากถอนโคนด้วยการปฏิวัติอันรุนแรง เขาคิดว่าการใช้เหตุผลและสติปัญญาสามารถจะแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง

5. ซอง-ชาคส์ รูโซ (Jean-Jacques Rousseau ค.ศ. 1712-1778) เชื้อสายฝรั่งเศส เขาเขียนหนังสือ หลายเล่ม โจมตีฟอนเฟะของสังคม และการบริหารที่ล้มเหลวของรัฐบาล นอกจากนี้เขายังแสดงทัศนะเกี่ยวกับระบบการศึกษา ปัญหาความไม่เสมอภาคทางสังคมอันเป็นผลจากสภาวะแวดล้อม เรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และแนวทางการปกครอง และอื่น ๆ งานเขียนชิ้นเอกของเขาซึ่งเป็นตำราทางการเมืองที่สำคัญและมีอิทธิพลมาก คือ สัญญาประชาคม (The Social Contract) ค.ศ. 1762 ว่าด้วยปรัชญาทางการเมืองด้านการปกครองและพันธสัญญาทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและประชาชน งานเขียนเรื่องนี้ทำให้รูโซได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานอำนาจอธิปไตยของประชาชน

6.2 การปฏิวัติทางการเมืองการปกครองของอังกฤษ

6.2 การปฏิวัติทางการเมืองการปกครองของอังกฤษ
หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I) สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1603 กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆ มามักจะมีความขัดแย้งกับรัฐสภาอยู่เสมอ เนื่องจากการใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต ใช้เงินแผ่นดินไปในทางที่ฟุ่มเฟือยและก่อสงคราม ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับกษัตริย์รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1642-1649 และรัฐสภาได้จับพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ประหารชีวิต จากนั้นกษัตริย์อังกฤษถูกลดอำนาจลงเรื่อย ๆ จนถึง ค.ศ. 1688 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II) ที่ทรงพยายามใช้อำนาจอย่างสูงสุดอีก จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยรัฐสภาอังกฤษได้อันเชิญพระเจ้าวิลเลียม (William) พระราชบตรเขตของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์บัลลังก์โดยพระองค์ทรงสัญญาว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง (Bill of Rights) ที่รัฐสภาเป็นผู้จัดร่างถวายซึ่งให้อำนาจรัฐสภาและให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) เป็นการปฏิวัติที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และได้รับการสนับสนุนจากชนทุกชั้น นับแต่นั้นมารัฐสภาอังกฤษได้ออกกฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษ ปฏิรูปสังคมและการเมืองของอังกฤษ ก้าวหน้าไปตามลำดับจนถึงปัจจุบันอังกฤษได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตย อังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนประเทศอื่น ๆ ดังนั้นการปกครองของอังกฤษจึงยึดหลักการขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปกครองกันมา และยึดกฎหมายเป็นหลักรัฐสภา

การปฏิวัติใน ค.ศ. 1688 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแบบเทวสิทธิ์ของอังกฤษสิ้นสุดลง และได้ยุติปัญหาขัดแย้งทางการเมืองที่กระทบกระเทือนอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนี้ในปีต่อมามีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยขันติธรรมทางศาสนา (Act of Toleration) ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่พวกโปรเตสแตนต์สาขาต่าง ๆ ที่ไม่ยอมขึ้นต่อนิกายแองกลิคัน

6.3 การปฏิวัติของชาวอเมริกัน ค.ศ. 1776

6.3 การปฏิวัติของชาวอเมริกัน ค.ศ. 1776
ชาวอังกฤษที่อพยพไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาในระยะแรกมีความผูกพันกับเมืองแม่ของตนด้วยการยอมรับนับถือกษัตริย์อังกฤษเป็นกษัตริย์ของตน และรวมตัวกันปกครองตนเองในรูปแบบอาณานิคมขึ้นตรงต่ออังกฤษ แต่เนื่องจากรัฐบาลอังกฤษเก็บภาษีชาวอาณานิคมอย่างรุนแรง และเอาเปรียบทางการค้า เช่น อังกฤษบังคับให้อาณานิคมขายวัตถุดิบและซื้อสิ้นค้าสำเร็จรูปจากอังกฤษในราคาที่อังกฤษกำหนด ทั้งยังห้ามผลิตสินค้าสำเร็จรูปด้วยตนเอง สร้างความไม่พอใจแก่ชาวอาณานิคมเป็นอย่างมาก ใน ค.ศ. 1776 ชาวอาณานิคมจึงพร้อมใจกันประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ อังกฤษส่งทหารมาปราบกลายเป็นสงคราม เรียกว่าสงครามประกาศอิสรภาพ ในที่สุดชาวอาณานิคมได้รับชัยชนะได้ตั้งเป็นประเทศใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

เนื่องจากชาวอเมริกันเป็นชาวยุโรป ประกอบด้วยชาวอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ มีการศึกษาดีและมีจิตใจยึดมั่นในเรื่องของสิทธิเสรีภาพและอิสรภาพ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่อพยพมาอยู่ทวีปอเมริกาก็เพื่อแสวงหาความเป็นอิสรภาพ เพราะไม่สามารถทนต่อการบีบคั้น และการปกครองอย่างกดขี่ของรัฐบาลในทวีปยุโรป ดังนั้นชาวอเมริกันจึงมีความคิดและจิตใจที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย สามารถวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตยได้อย่างมั่นคง ประธานาธิบดีอเมริกันผู้มีชื่อเสียงในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยและความเสมอภาคในหมู่ประชาชนคือ ประธานาธิบดีเอบราแฮม ลิงคอล์น (Abraham Lincon ค.ศ. 1861-1865) ได้ประกาศยกเลิกระบบทาสและให้ความเสมอภาคแก่ชาวผิวดำ

การปฏิวัติของชาวอเมริกัน ค.ศ. 1776 มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เป็นอย่างมาก ฝรั่งเศสได้ตัวอย่างการให้สิทธิประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นและศาสนา ไม่เข้ามามีบทบาททางการเมือง

6.4การปฏิวัติฝรั่งเศส

6.4 การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789
การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศส เริ่มประสบความล้มเหลวในช่วงเวลาก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส สาเหตุมาจากพระมหากษัตริย์อ่อนแอไม่ทรงพระปรีชาสามารถ ในการบริหารบ้านเมือง ประชาชนทั่วไปถูกขูดรีดภาษี จนอยู่ในภาวะยากจนสิ้นหวัง ขณะที่พวกพระและขุนนางชั้นสูงมีความเป็นอยู่อย่างฟุ่มเฟือย สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV ค.ศ. 1649-1715) ทรงใช้พระราชทรัพย์ไปในการทำสงครามและเพื่อความหรูหราของราชสำนักแวร์ซาย ถึงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (Louis XV ค.ศ. 1715-1774) ก็มิได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในทางที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ทั้งยังเสียดินแดนอาณานิคมเกือบทั้งหมดให้อังกฤษ เนื่องจากเป็นฝ่ายแพ้สงคราม เจ็ดปี (ค.ศ. 1745-1763) ต่อมาในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (Louis XVI ค.ศ. 1774-1792) เศรษฐกิจของฝรั่งเศสยิ่งมีปัญหามากขึ้นเพราะความฟุ่มเฟือยของราชสำนักแวร์ซาย ประกอบกับต้องใช้จ่ายในการช่วยเหลือชาวอเมริกันในสงครามประกาศอิสรภาพ

ปัญญาชนฝรั่งเศสพยายามหาทางแก้ไขปรับปรุงสถานการณ์ต่างๆภายในประเทศให้ดีขึ้น อังกฤษซึ่งปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และกำลังเจริญรุ่งเรืองจึงกลายเป็นแม่แบบและแรงบันดาลใจให้กลุ่มปัญญาชนหาหนทางให้ประชาชนชาวฝรั่งเศสได้ชื่นชมกับเสรีภาพอย่างชาวอังกฤษบ้าง นอกจากนี้ ชาวฝรั่งเศสยังมีความเชื่อว่าการปกครองแบบมีรัฐสภา (parliamentary government) หรือรัฐบาลประชาธิปไตยจะนำความมั่นคั่งมาสู่ประเทศไทยได้ ในที่สุดชาวฝรั่งเศสหมดความอดทนที่จะยอมอยู่ภายใต้เงื่อนไขของระบบสังคมเก่าที่กีดกั้นเสรีภาพและการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม งานวรรณกรรมทางการเมืองของล็อก มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ รวมทั้งปัญญาชนอื่นๆจึงสร้างเงื่อนไขอันก่อให้เกิดความหวังใหม่ขึ้นมาในหมู่ประชาชน ซึ่งระบบสังคมเก่าไม่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้เต็มที่ และความคิดดังกล่าวก็เป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อชาวอเมริกันได้ก่อการปฏิวัติใน ค.ศ. 1776 เพื่อแยกตัวเองเป็นอิสระจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ การปฏิวัติอเมริกัน ค.ศ.1776 จึงไม่เพียงแต่นำความชื่นชมมาสู่ผู้นิยมเสรีนิยมเท่านั้น แต่ทำให้ความมุ่งหวังต่างๆของกลุ่มนักคิดของยุคภูมิธรรมบรรลุความเป็นจริง อันได้แก่เรื่องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค การล้มล้างอำนาจที่ไม่เป็นธรรมของรัฐและการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรที่กำหนดให้แยกอำนาจอธิปไตยออกเป็นสามส่วน เป็นต้น ดังนั้นอีก 13 ปีต่อมา ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ชาวฝรั่งเศสจึงได้ก่อการปฏิวัติครั้งใหญ่เพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองแบบประชาธิปไตย และต่อมาได้จัดตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ซึ่งนับว่ามีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความคิดทางการเมืองของนานาประเทศทั่วโลกทั้งในระยะเวลาอันสั้นและยาว

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกที่ประชาชนได้เรียกร้องเสรีภาพ(liberty) เสมอภาค (equality) และภราดรภาพ (fraternity) ตามแนวทางของรักปราชญ์การเมืองของคริสต์ศตวรรษที่ 18 แนวความคิดดังกล่าวก็ยังสะท้อนออกเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฝรั่งเศสอีกด้วย เช่น เรื่องของสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินในมาตรา 11 ความเสมอภาคทางกระบวนการยุติธรรมในมาตรา 17 และการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วนในมาตรา 51 เป็นต้น

นอกจากนี้ในคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (La Declaration des droits de I’homme et du citoyen) ซึ่งคณะปฏิวัติได้แถลงต่อประชาชนเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1789 ก็เป็นการนำเอาความคิดหลักของล็อก มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ ย้อนกลับมาใช้ให้เห็นอย่างชัดเจนอีกครั้ง เช่น ในเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล ความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการครอบครองทรัพย์สิน และอำนาจอธิปไตยแห่งรัฐ ดังจะเห็นว่ามาตราที่ 1 ของคำประกาศก็ระบุว่า มนุษย์ทุกคนเกิดและดำรงชีวิตอย่างอิสระและมีสิทธิเสมอภาคกัน ในมาตราอื่นก็ยกเลิกระบบอภิสิทธิ์ทางชนชั้นและการแทรกแซงในเสรีภาพทางความคิดและศาสนาระบุหน้าที่ข้าราชการเป็นผู้รับใช้ของประชาชน ซึ่งเป็นองค์อธิปัตย์ หากข้าราชการกระทำการใดให้ประชาชนไม่เชื่อถือแล้วประชาชนก็มีสิทธิที่จะต่อต้านและล้มล้างอำนาจได้

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 ได้ส่งผลกระทบให้แนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป โดยผ่านการที่ฝรั่งเศสทำสงครามยึดครองประเทศต่างๆในยุโรปในช่วงสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary War ค.ศ. 1792-1802) และสงครามนโปเลียน (Napoleonic War ค.ศ. 1803-1815) แม้ว่าในท้ายที่สุด ฝรั่งเศสต้องพ่ายแพ้สงครามก็ตาม แต่ประชาชนในประเทศต่างๆ ก็ตื่นตัวต่อแนวคิดของการปฏิวัติฝรั่งเศส นำไปสู่การต่อต้านผู้ปกครองตลอดช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการปกครองตนเองของประชาชน

กล่าวได้ว่า แนวความคิดประชาธิปไตยของล็อก สองเตสกิเออร์ วอลแตร์ และรูโซ มีผลในการปลุกเร้าจิตสำนึกทางการเมืองของชาวตะวันตกเป็นอันมาก และก่อให้เกิดการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องนับแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศักราชใหม่ของระบบการเมืองที่ประชาชนถือว่าตนเป็นเจ้าของประเทศ และต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ เหตุการณ์ปฏิวัติทางการเมืองโดยเฉพาะการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 เป็นแม่แบบให้ชาวตะวันตกร่วมเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

7.1 ศิลปะบารอก

7.1 ศิลปะบารอก

ศิลปะบารอกเกิดขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 16 สืบต่อจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และเสื่อมความนิยมเมื่อประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ลักษณะของศิลปะบารอกเปลี่ยนแปลงจากศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแสดงอารมณ์สงบนิ่งแฝงปรัชญามาเป็นอารมณ์พลุ่งพล่าน แสดงความดิ้นรน เคลื่อนไหว หรือสร้างให้มีรูปทรงบิดผันจนเกินงาม หรือประณีตบรรจงเกินไป และเน้นบรรยากาศโอ่อ่าหรูหราเป้นพิเศษ ศิลปะแนวนี้รุ่งเรืองมากในประเทศอิตาลี และกลุ่มประเทศคาทอลิก
  1. จิตรกรรม มีการลวงตาด้วยเส้น สี แสงเงา และใช้หลักทัศนียวิสัย ทำให้ภาพมีลักษณะกินตา เป็นภาพสามมิติ จิตรกรสำคัญได้แก่ มีเกลันเจโล ดา การาวัจโจ(Michelangeloda Caravaggio ค.ศ.1573-1610) เรมบรันต์(Rembrandt ค.ศ.1606-1669) และพีเตอร์ พอล รูเบนส์(Peter Paul Rubens ค.ศ.1577-1644)
  2. สถาปัตยกรรม นิยมสร้างให้ดูโอ่อ่าเกินความจำเป็น ตัวอย่างเช่นสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังแวร์ซายของฝรั่งเศส ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14


  3. ดนตรี มีทั้งเพลงศาสนา และไม่ใช่เพลงศาสนา มีทั้งการร้องเดี่ยว และการร้องแบบอุปรากรใช้นักดนตรี และนักแสดงจำนวนมาก นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงได้แก่ คลอดิโอ มอนเตอเวอร์ดี(Claudio Monteverdi ค.ศ.1567-1643)

  4. วรรณกรรม วรรณกรรมแบบบารอกชอบเขียนเรื่องที่เกินจริง

7.2 ลัทธิคลาสสิกใหม่

7.2 ลัทธิคลาสสิกใหม่
ได้รับความนิยมในยุโรปประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มนุษย์เปลี่ยนความรู้สึก ความเชื่อ และทัศนคติอย่างสิ้นเชิง เพราะจากความสำเร็จในการปฏิวัติและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทำให้มนุษย์มีความเชื่อมั่นในเหตุผล มีความสามารถ เฉลียวฉลาด รู้คุณค่าของความเป็นมนุษย์ เรียกว่าเป็นสมัยแห่งภูมิธรรม
  1. สถาปัตยกรรม มีการฟื้นฟูศิลปะคลาสสิกมาปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในสมัยนั้น มีการสะท้อนเรื่องราวของอารยธรรมโบราณ แสดงความสง่าของทรวดทรง เน้นในความสมดุลได้สัดส่วน

  2. ประติมากรรมและจิตรกรรม ประติมากรรมคลสสิกใหม่นิยมลอกเลียนแบบประติมากรรมของกรีก-โรมัน ส่วนจิตรกรรรมเน้นในเรื่องเส้นมากกว่าการให้สี แสดงออกให้เห็นถึงความสง่างาม และยิ่งใหญ่ในความเรียบง่าย คล้ายกับผลงานของกรีกโบราณ

  3. นาฏกรรม ในสมัยนี้ได้รับอิทธิพลจากการละครของกรีก ซึ่งต้องการแสดงความสมเหตุสมผลของเรื่อง และมุ่งมั่นที่จะสั่งสอนนอกเหนือจากการให้ความเพลิดเพลิน ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่เขียนบทละครคลาสสิก

  4. ดนตรี สมัยนี้นิยมเนื้อเรื่องที่แสดงออกด้านความคิดเห็น และในเรื่องของความเสมอภาคตามทัศนะของนักเขียนสมัยภูมิปัญญา นอกจากนี้ความคิดที่เชื่อมั่นในเหตุผล สติปัญญา และความสามารถของมนุษย์ ก็มีบทบาทที่ทำให้การแต่งเพลงมีอิสระมากขึ้น นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงสมัยคลาสสิกได้แก่ วอล์ฟกัง อะมาเดอุส โมสาร์ต(Wolfgang Amadeus Mozart ค.ศ.1756-1791)

7.3 ลัทธิจินตนิยม

7.3 ลัทธิจินตนิยม
ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะของโลกตะวันตกมีลักษณะเป็นแบบจินตนิยม ซึ่งเน้นอารมณื และความรู้สึกภายใน เนื่องจากผู้คนเริ่มเบื่อหน่ายการใช้เหตุผล และต้องการกลับไปชื่นชมความงามของธรรมชาติ พอใจในเรื่องราวแปลก แตกต่างออกไปจากดินแดนต่างๆ โดยไม่คำนึงถึงประเพณีนิยม พวกศิลปินจะสร้างงานโดยยึดถืออารมณ์ฝัน และจินตนาการของตนเป็นสำคัญ และไม่เห็นด้วยกับการสร้างงานที่ยึดถือหลักวิชาการ และเหตุผล

1. สถาปัตยกรรม มีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตมาดัดแปลงตามจินตนาการ เพื่อให้เกิดผลทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสถาปัตกรรมแบบกอทิก

2. ประติมากรรม ประติมากรรมจินตนิยมเน้นการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก และแนวความคิดประติมากรจินตนิยมที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส ได้แก่ ฟรองซัว รูเด(Francois Rude ค.ศ.1784-1855) ผู้ปั้นประติมากรรมนูนสูงมาร์ซายแยส(Marseillaise) ประดับฐานอนุสาวรีย์ประตูชัย(Arch of Triumph)ในกรุงปารีส

3. จิตรกรรม มีการจัดองค์ประกอบด้วยสี เส้น แสงเงา และปริมาตรค่อนข้างรุนแรง มุ่งให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ คล้อยตามไปกับจินตนาการที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน แปลกประหลาดตื่นเต้นเร้าใจ ความรุนแรง และความน่าหวาดเสียวสยดสยอง จิตรกรคนสำคัญของฝรั่งเศส ได้แก่ เออชอน เดอลา-กรัวซ์(Eugene Delacroix ค.ศ.1798-1863) ผู้เขียนภาพอิสรภาพนำประชาชน(Liberty leading the people) เขียนจากเหตุการณ์นองเลือดเมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นบัลลังก์ราชวงศ์บูร์บง ที่เกิดเมื่อ ค.ศ.1830


4. ดนตรี ดนตรีแนวจินตนิยมไม่ได้แต่งเพื่อฟังเพลิดเพลินอย่างเดียว แต่มีจุดมุ่งหมายที่จะเร้าความรู้สึกทางจิตใจด้วย เช่น ความรู้สึกชาตินิยม โน้มน้าวจิตใจผู้ฟังให้คล้อยตาม นักแต่งเพลงจินตนิยมที่มีชื่อเสียงได้แก่ ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน(Ludwig van Beethoven ค.ศ.1770-1827) ฟรานซ์ ชูเบิร์ต(Franz Schubert ค.ศ.1797-1828) เป็นต้น

5. การละคร นิยมแสดงเรื่องที่ตัวเอกประสบปัญหาอุปสรรค หรือมีข้อขัดแย้งในชีวิตอย่างสาหัส ซึ่งจะดึงอารมณ์ของผู้ชมให้เอาใจช่วยตัวเอก การเขียนบทไม่เคร่งครัดในระเบียบแบบแผนอย่างละครคลาสสิก ละครแนวจินตนิยมกำเนิดในเยอรมนี บทละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ เรื่องเฟาสต์(Faust)ของโยฮันน์ วอล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ(Johanne Wolfgang von Goethe ค.ศ.1749-1832)

6. วรรณกรรม เน้นจินตนาการ และอารมณ์ และถือว่าควมต้องการของผู้ประพันธ์สำคัญกว่าความต้องการของคนในสังคม บทร้อยกรองประเภทคีตกานต์(lyric) ซึ่งเป็นโคลงสั้นๆแสดงอารมณ์ของกวีได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยนี้ กวีคนสำคัญของอังกฤษ คือ วิลเลียม เวิดส์เวิร์ท(William wordsworth ค.ศ.1770-1850) และ แซมวล เทย์เลอร์ โคลริดจ์(Samuel Taylor Colridge ค.ศ.1772-1834) กวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส คือ วิกเตอร์-มารี อูโก(Victor Marie Hugo ค.ศ.1802-1885) นอกจาแต่งโคลงแล้ว ยังแต่งบทละครและนวนิยาย นวนิยายที่มีชื่เสียงมาก คือ เหยื่ออธรรม (Les Miserables)

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

7.4 ลัทธิสัจนิยม

7.4 ลัทธิสัจนิยม (Realisticism)
ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา เป็นสมัยแห่งความเจริญทางเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ สังคมของยุโรปเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การใช้ระบบเศรษฐกิจที่เป็นแบบทุนนิยม ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกรรมกรกับนายทุน ขณะเดียวกันก็เกิดแนวความคิดแบบสังคมนิยม ซึง่ต่อต้านระบบนายทุน ต้องการให้ชนชั้นแรงงานเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอำนาจทางสังคมและการเมือง อย่างไรก็ตามชนชั้นกลางหรือนายทุนก็ยังสามารถรักษาสถานภาพและอำนาจในสังคมของตนไว้ได้ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้แนวความคิดทางศิลปะหันเหจากแนวจินตนิยมมาเป็นแนวสัจนิยม ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของชีวิต โดยต้องการให้เห็นว่าโลกที่แท้จริงไม่ได้งดงามตามแบบที่พวกจินตนิยมเชื่อถือกัน ชีวิตต้องดิ้นรนต่อสู้ มีการเอารัดเอาเปรียบและการขัดแย้งกันระหว่างชนชั้นในสังคม

ลักษณะเด่นของสัจนิยม คือ การแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสังคม เปิดโปงความชั่วร้ายของพวกนายทุน และความไม่ยุติธรรมที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานได้รับ มักจะเน้นชีวิตของพวกกรรมกรที่ทุกข์ยาก ชุมชนแออัด ความสับสนวุ่นวายในเมือง สภาพของคนที่ยากไร้ การเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มคนที่มีฐานะดีกว่า ส่วนมากจะเป็นรายละเอียดของชีวิตประจำวันทุกด้านตามความเป็นจริง พวกสัจนิยมไม่นิยมเรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องจินตนาการเพ้อฝัน และไม่มองโลกในแง่ดีเหมือนพวกจินตนิยม นอกจากนี้ยังเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมาและเป็นกลาง
1.
ด้านสถาปัตยกรรม เนื่องจากอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีการสร้างโรงงานขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานที่สูงหลายๆชั้นกันมาก การก่อสร้างอาคารจะนำวัสดุที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ เช่น เหล็กกล้า เหล็กหล่อ แทนอิฐ ไม้ เหมือนแต่ก่อน อาคารส่วนใหญ่เป็นลักษณะเรียบง่าย ให้ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุดในเนื้อที่จำกัด การออกแบบจึงต้องสอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอย แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความงามทางศิลปะด้วย
2.
ประติมากรรม นิยมปั้นและหล่อรูปคนมีรูปร่างสัดส่วนเหมือนคนจริง ผิวรูปปั้นหยาบ ไม่เรียบ เมื่อมีแสงส่องกระทบจะเห็นกล้ามเนื้อชัดเจน ศิลปินคนสำคัญ คือ โอกูสต์ โรแดง (August Rodin ค.ศ.1840-1917) ซึ่งเป็นประติมากรที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศสและของโลก ผลงานชิ้นเอก เช่น นักคิด (The Thinker) หล่อด้วยสำริด

3.จิตรกรรม มักสะท้อนสภาพชีวิตจริงของมนุษย์ในด้านลบ เช่น ชีวิตคนชั้นต่ำตามเมืองใหญ่ๆ ชีวิตชาวไร่ชาวนาที่ยากไร้ในชยบท ศิลปะสัจนิยมมีกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส จากการริเริ่มของกูสตาฟ กูร์เบ (Gustave Courbet ค.ศ. 1819-1877) ซึ่งยึดหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงตามที่ตาแลเห็น