อาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล
4. มนสิชา แสงอุทัย ม.6.2 เลขที่ 21
อาจารย์ปรางค์สุวรรณ ศักดิ์โสภณกุล
นอกจากนี้ ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง
นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการเพื่อใช้เก็บถนอมอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ให้มีอายุยืนนาน และใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติดีขึ้นแล้ว ชาติตะวัตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร้เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 นักปราชญ์ชาวกรีกจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลเริ่มอพยพจากการรุกรานของพวกมุสลิมมายังแหลมอิตาลี และสมัครเป็นอาจารย์สอนภาษากรีกในราชสำนักและโรงเรียนต่างๆ ทำให้พวกมนุษยนิยมชาวอิตาลีมีความรู้ในภาษาและวัฒนธรรมของกรีก สามารถนำวรรณคดีและปรัชญาของกรีกมาแปลเป็นภาษาละตินเผยแพร่ในยุโรปตะวันตกมากขึ้น
ในค.ศ.1454 โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก (Johannes Gutenburg ค.ศ.1400-1468) สามารถผลิตเครื่องพิมพ์ที่ใช้วิธีการเรียงตัวอักษรได้สำเร็จ ทำให้หนังสือมีราคาถูกลง และเผยแพร่ไปยังดินแดนต่างๆได้กว้างขวาง ทำให้ความนึกคิดและความสนใจของประชากรในดินแดนต่างๆมีความเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น
นักมนุษยนิยมส่วนมากจะศรัทธาในคริสต์ศาสนา แต่ความมีศรัทธามิได้ปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของปัจเจกบุคคล นักมนุษยนิยมมีความคิดที่ว่าคริสต์ศาสนิกชนควรจะแยกตัวจากการครอบงำทางความคิดของศาสนจักร เพื่อแสวงหาสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตอย่างเป็นประโยชน์ ซึ่งความคิดนี้เป็นรากฐานการกบฏของคริสต์ศาสนิกชนต่อสถาบันสันตะปาปาที่กำลังเสื่อมโทรม ที่นำไปสู่การต่อต้านวิธีปฏิบัติต่างๆของศาสนจักรที่ขัดต่อข้อกำหนดในพระคัมภีร์ไบเบิล ทำให้เกิดการปฏิรูปทางศาสนาใน ค.ศ. 1517
ราฟาเอล มีผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงความประณีตนิ่มนวล ภาพที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพพระแม่ พระบุตร และจอห์น แบบติสต์ (Madonna and Child with St.John) แสดงความรักของแม่ที่มีต่อบุตร เป็นภาพเหมือนจริงที่มีชีวิตจิตใจ ดูเป็นปุถุชนธรรมดา ภาพเขียนของเขานับเป็นตัวอย่างที่ดีที่เน้นให้เห็นบทบาทและความสำคัญของปัจเจกบุคคล พระกุมารในภาพแสดงถึงความบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของเด็กที่ถูกเพิกเฉยในสมัยกลาง และเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้ใหญ่หันมาให้ความรักและความสนใจเด็กมากขึ้น
งานประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองในยุคนี้ที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของความคิดในกรอบและกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดของคริสต์ศาสนา ได้แก่ บทร้อยกรองซอนเนต(Sonnet) ของเทปราก ดิแคเมอรอน (Decameron) ของโจวันนี บอกกัชโช (Giovanni Boccaccio ค.ศ. 1313-1375) ซึ่งเป็นนิยายชวนหัวที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะของมนุษย์และความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นต้น
งานวรรณกรรมด้านนาฏกรรมหรือบทละคร ก็มีการรับอิทธิพลของบทละครกรีก โดยนำมาปรับให้เข้ากับรสนิยมของชาวตะวันตกในสมัยนั้น นักประพันธ์ที่สำคัญ ได้แก่ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare ค.ศ. 1564-1616) บทละครที่มีชื่อเสียงของเขา คือ โรมีโอและจูเลียต (Romeo and Juliet) เวนิสวาณิช (The Merchant of Venice) เป็นต้น บทละครเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ อุปนิสัยและการตัดสินใจมนุษย์ในภาวการณ์ต่างๆ
แนวคิดทางการเมืองของล็อกอาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น รัฐต้องไม่เข้าแทรกแซงในกิจการของปัจเจกชน นอกจากในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้นั้น แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส
3. บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu ค.ศ. 1689-1755) หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ เซ็กกองดาต์ (Charies Louis de Secondat) ขุนนางฝรั่งเศส เป็นผู้เขียนหนังสือ เรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Laws) ซึ่งใช้เวลาศึกษาค้นคว้ากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1748 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์อีก 22 ครั้ง และแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ เกือบทุกภาษาแนวคิดหลักของหนังสือเรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมายสรุปได้ว่ากฎหมายที่รัฐบาลแต่ละสังคมบัญญัติขึ้นต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเงื่อนไขทางนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม แต่การปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด นอกจากนี้อำนาจการปกครองควรแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ การแบ่งอำนาจดังกล่าวเป็นเสมือนการสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงอำนาจ (check and balance system) จะช่วยไม่ให้ผู้ปกครองหรือคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาลใช้อำนาจแบบเผด็จการได้
แนวคิดในทางการเมืองของมองเตสกิเออร์ ในหนังสือเล่มนี้ มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตก รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ใช้แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์เป็นหลัก
4. วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778) มีชื่อจริงว่า ฟรองซัว-มารี อารูเอ (Francois – Marie Arouet) เป็นนักคิดและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส วอลแตร์ประทับใจในระบอบการปกครองของอังกฤษมาก และตั้งใจจะใช้งานเขียน คัดค้านการปกครองแบบเผด็จการ และต่อต้านความงมงายไร้เหตุผล ตลอดจนเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางด้านต่างๆ
ความคิดดังกล่าวของวอลแตร์ สะท้อนออกในหนังสือเรื่องจดหมายปรัชญา (The Philo – sophical Letters) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letter on the English) เนื้อหาของหนังสือโจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ที่หล้าหลังของฝรั่งเศส นอกจากนี้วอลแตร์ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศฝรั่งเศสให้ทันสมัยเหมือนอังกฤษ
อย่างไรก็ดี แม้วอลแตร์จะต่อต้านความอยุติธรรมในสังคมและความไร้ขันติธรรมทางศาสนาตลอดจนระบบอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แต่ในด้านการเมืองเขาก็ไม่เคยแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนต่อรูปแบบการปกครองที่เขาพึงพอใจ หรือต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองอย่างถอนรากถอนโคนด้วยการปฏิวัติอันรุนแรง เขาคิดว่าการใช้เหตุผลและสติปัญญาสามารถจะแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง