นักคิดคนสำคัญที่วางรากฐานของปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย ได้แก่ ทอมัส ฮอบส์ จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (Philosophs) ของฝรั่งเศส เช่น มองเตสกิเออร์ วอลแตร์ ชอง-ชาคส์ รูโซ
1. ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes ค.ศ. 1588-1679) นักปรัชญาชาวอังกฤษ แนวคิดด้านการเมืองของฮอบส์ ปรากฏในหนังสือ ลีไวอาทัน (Leviathan) ซึ่งเป็นงานเขียนชิ้นเอกของฮอบส์ ฮอบส์กล่าวว่าก่อนหน้าที่มนุษย์จะมาอยู่รวมกันเป็นสังคมการเมือง มนุษย์มีอิสระและเสรีภาพในการกระทำใดๆ ซึ่งย่อมก่อให้เกิดความวุ่นวาย มนุษย์จึงตกลงกันที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่จะหาคนกลางมาทำหน้าที่ปกครองเพื่อให้เกิดสังคมการเมืองที่อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยแต่ละคนยอมเสียสละอำนาจสูงสุดของตนให้แก่ฝ่ายปกครองทั้งนี้ประชาชนมีสิทธิเลือกการปกครองที่สอดคล้องกับความต้องการของคนส่วนใหญ่ โดยมีข้อผูกมัดว่าทุกคนจะต้องเชื่อฟังผู้ปกครอง ซึ่งจะเป็นผู้ออกกฎหมายมาบังคับประชาชนต่อไป จะเห็นว่าแม้ฮอบส์จะนิยมระบอบกษัตริย์ แต่ก็มีแนวความคิดว่าอำนาจของกษัตริย์ไม่ใช่อำนาจของเทวสิทธิ์หรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ แท้จริงแล้วเป็นอำนาจที่ประชาชนยินยอมพร้อมใจมอบให้ ส่วนทางศาสนจักรนั้น ฮอบส์มีความเห็นว่าไม่ควรเข้ามาเกี่ยวกับการปกครองของรัฐ
นอกจากนี้ฮอบส์ ยังโจมตีความเชื่อทางศาสนาของมนุษย์ว่าเป็นเรื่องไร้เหตุผล มนุษย์ควรมีชีวิตอย่ด้วยเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ไม่ควรอยู่ด้วยความเชื่องมงาย อย่างไรก็ตามฮอบส์มิได้ปฏิเสธพระเจ้า แต่ปฏิเสธพิธีกรรมและผู้นำทางศาสนา
2. จอห์น ล็อก (John Locke ค.ศ. 1632-1704) นักปรัชญาชาวอังกฤษ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Two Treatises of Government (ค.ศ. 1689) แนวคิดหลักของหนังสือ คือ การเสนอทฤษฎีที่ว่ารัฐบาลจัดตั้งขึ้นโดยความยินยอมของประชาชน และต้องรับผิดชอบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
แนวคิดทางการเมืองของล็อกอาจสรุปได้ว่าประชาชนเป็นที่มาของอำนาจทางการเมืองและมีอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ รัฐและรัฐบาลจึงมีหน้าที่ปกครองโดยคำนึงถึงประโยชน์และสิทธิธรรมชาติของประชาชนอันได้แก่ ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน รัฐบาลมีอำนาจภายในขอบเขตที่ประชาชนมอบให้ และจะใช้เฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เท่านั้น รัฐต้องไม่เข้าแทรกแซงในกิจการของปัจเจกชน นอกจากในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อรักษาเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้นั้น แนวคิดทางการเมืองดังกล่าวจึงเป็นรากฐานความคิดของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่และมีอิทธิพลต่อปัญญาชนและปรัชญาเมธีของยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (philosophes) ของฝรั่งเศส
3. บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu ค.ศ. 1689-1755) หรือ ชาร์ลส์ หลุยส์ เดอ เซ็กกองดาต์ (Charies Louis de Secondat) ขุนนางฝรั่งเศส เป็นผู้เขียนหนังสือ เรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Laws) ซึ่งใช้เวลาศึกษาค้นคว้ากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1748 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์อีก 22 ครั้ง และแปลเป็นภาษาตะวันตกต่างๆ เกือบทุกภาษาแนวคิดหลักของหนังสือเรื่อง วิญญาณแห่งกฎหมายสรุปได้ว่ากฎหมายที่รัฐบาลแต่ละสังคมบัญญัติขึ้นต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและเงื่อนไขทางนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของแต่ละสังคม แต่การปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด นอกจากนี้อำนาจการปกครองควรแยกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการ การแบ่งอำนาจดังกล่าวเป็นเสมือนการสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงอำนาจ (check and balance system) จะช่วยไม่ให้ผู้ปกครองหรือคณะผู้ปกครองหรือรัฐบาลใช้อำนาจแบบเผด็จการได้
แนวคิดในทางการเมืองของมองเตสกิเออร์ ในหนังสือเล่มนี้ มีอิทธิพลต่อสังคมตะวันตก รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบของระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยก็ใช้แนวคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ และระบบคานอำนาจของมองเตสกิเออร์เป็นหลัก
4. วอลแตร์ (Voltaire ค.ศ. 1694-1778) มีชื่อจริงว่า ฟรองซัว-มารี อารูเอ (Francois – Marie Arouet) เป็นนักคิดและนักเขียน ที่มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส วอลแตร์ประทับใจในระบอบการปกครองของอังกฤษมาก และตั้งใจจะใช้งานเขียน คัดค้านการปกครองแบบเผด็จการ และต่อต้านความงมงายไร้เหตุผล ตลอดจนเรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางด้านต่างๆ
ความคิดดังกล่าวของวอลแตร์ สะท้อนออกในหนังสือเรื่องจดหมายปรัชญา (The Philo – sophical Letters) หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า จดหมายเรื่องเมืองอังกฤษ (Letter on the English) เนื้อหาของหนังสือโจมตีสถาบันและกฎระเบียบต่างๆ ที่หล้าหลังของฝรั่งเศส นอกจากนี้วอลแตร์ยังเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศฝรั่งเศสให้ทันสมัยเหมือนอังกฤษ
อย่างไรก็ดี แม้วอลแตร์จะต่อต้านความอยุติธรรมในสังคมและความไร้ขันติธรรมทางศาสนาตลอดจนระบบอภิสิทธิ์ต่าง ๆ แต่ในด้านการเมืองเขาก็ไม่เคยแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจนต่อรูปแบบการปกครองที่เขาพึงพอใจ หรือต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองอย่างถอนรากถอนโคนด้วยการปฏิวัติอันรุนแรง เขาคิดว่าการใช้เหตุผลและสติปัญญาสามารถจะแก้ไขปัญหาสังคมและการเมือง
ขอบคุนค่ะ ^^
ตอบลบขอบคุณมากๆค่าา
ตอบลบสรุปใครเป็นคนคิด????
ตอบลบ(ขอคนเดียว)