วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

5.2.4) ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรรม

5.2.4) ผลกระทบของการปฏิวัติอุตสาหกรรรม

1.) ด้านสังคม
ผลกระทบพื้นฐานที่สำคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็วของทั่วโลก สาเหตุสำคัญของการเพิ่มจำนวนประชากรดังกล่าว เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ ความสมบูรณ์ของอาหาร ตลอดจนการปรับปรุงระบบสาธารณสุข และการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ก่อให้เกิดการขยายตัวของสังคมเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความเจริญทางวัตถุของสังคมต่าง ๆ และการเติบโตของระบบอุตสาหกรรมนิยมทำให้ชาวชนบทจำนวนมากหลั่งไหลเข้าเมือง เพื่อขายแรงงานตามโรงงานต่าง ๆ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ มากมาย เช่น ปัญหาที่พักอาศัยชุมชนแออัด ปัญหาความสกปรก และการแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัญหาอาชญากรรม การใช้แรงงานเด็ก การเอารัดเอาเปรียบในอัตราค่าจ้าง เป็นต้น ซึ่งสถาบันแบบดั้งเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แนวคิดของระบบสังคมนิยม( socialism ) ของคาร์ล มากซ์ ( Karl Marx ค.ศ. 1818 - 1833 ) ที่เรียกร้องให้กรรมกรรวมพลังกัน เพื่อต่อสู้โค่นล้มระบบทุนนนิยม ( capitalism ) จึงเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลมากขึ้นในการเมืองของยุโรปในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่มีความสเมอภาค และปราศจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเมือง
2.) ด้านเศรษฐกิจ
ในค.ศ. 1776 แอดัม สมิท ( Adam smith ค.ศ. 1723 – 1790 ) ศาสตรา จารย์ แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ ( Glasgow ) ประเทศอังกฤษ ได้พิมพ์เผยแพร่งานเขียนชื่อ ความมั่งคั่งของประชาชาติ ( Wealth of Nations ) เพื่อให้รัฐบาลเห็นด้วยว่า ความมั่น คงของประเทศจะเกิดจากระบบการค้าแบบเสรี ( laissez faire ) ที่รัฐบาลควรปล่อยให้เอกชนประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี โดยปราศจากการควบคุม หลักการของระบบการค้าแบบเสรีดังกล่าว ทำให้ชนชั้นกลางของหลายประเทศในยุโรปมีบท บาทสูงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม
3.) ด้านการเมือง
ชนชั้นกลางได้กลายเป็นกลุม่นักการเมือง ส่งเสริมให้มีระบอบการปก ครองแบบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ ส่วนพวกชนชั้นกรรมกรในโรงงานอุตสา หกรรรมก็ได้รวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการปกครองด้วย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 กรรมกรในอังกฤษได้จัดตั้งสหภาพแรงงาน ( Labor Union ) ขึ้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน และเป็นตัวแทนของประชาชนคนธรรมดา จนในที่สุด ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็สามารถเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ทำให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิในการเลือกตั้ง

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้ชาวตะวันตกมองโลก และสังคมด้วยทรรศนะที่เป็นจริงมากขึ้น เช่นในด้านการเมือง ประมุขหรือผู้นำของประเทศต่าง ๆ ก็เริ่มพิจารณาปัญหาการเมืองจากสภาวการณ์ที่เป็นจริง และมีแนวนโยบายปฏิบัติอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเริ่มต้นจากวิชาดาราศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ไปสู่การค้นพบความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปคิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ ทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ล้าหลังของยุโรป เปลี่ยนแปลงเป็นประเทศอุตสาหกรรมอันทันสมัย การผลิตสินค้าที่เคยได้ปริมาณน้อยก็ขยายตัวเป็นการผลิตขนาดใหญ่ ( mass production ) ทำให้ชาวยุโรปส่วนใหญ่มีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น และชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในสังคมมากขึ้น เกิดการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในนานาประเทศในยุโรป

ผลการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการปฏิวัติอุตสาหกรรมมิได้จำกัดบทบาทแต่ในกลุ่มชาติตะวันตกเท่านั้น แต่ได้หลั่งไหลไปยังภูมิภาคต่างๆ ตามกระแสของอารยธรรมตะวันตก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม แลการเมือง ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วม ในกลุ่มประเทศกึ่งเกษตรกรรมกึ่งอุตสาหกรรม หรือประเทศอุตสาหกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น