วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

4.2 กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

4.2 กำเนิดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ทวีปยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน และ
อังกฤษ เกิดการล่มสลายของระบบฟิวดัล มีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ ที่มีพระมหากษัตริย์ปกครองด้วยพระราชอำนาจที่เด็ดขาด มีระบบการบริหารที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ทางฝ่ายประชาชนก็ยินยอม และจงรักภักดีต่อพระมหา กษัตริย์ที่เป็นประมุข

การที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เติบโตขึ้นมาได้ มาจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การพัฒนาด้านการค้า การแสวงหาดินแดนอาณานิคม และนโยบายการค้าแบบพาณิชยนิยม พวกพ่อค้านายทุนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการค้า ทำให้พวกนี้สนับสนุนรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง ที่มีอำนาจในการคุ้มครองกิจการของพวกตน สาเหตุเหล่านี้ทำให้ฐานะของกษัตริย์มีความมั่นคงขึ้น เนื่องจากมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การปฏิรูปทางศาสนา ยังทำให้คริสตจักรแตกแยก และอ่อนแอลง ประชาชนจึงหันมาจงรักภักดีต่อกษัตริย์ ส่งผลให้สถาบันกษัตริย์มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น

อำนาจเทวสิทธิ์ของสถาบันกษัตริย์มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดของคริสต์ศาสนา คือ แนวความคิดเรื่องความมีอำนาจของพระเจ้า กับแนวความคิดชาตินิยม แนวความคิดทั้งสอง เป็นพื้นฐานที่มาของอำนาจกษัตริย์ กล่าวคือ กษัตริย์ทรงได้รับอำนาจเทวสิทธิ์จากพระเจ้าให้มาปกครองรัฐ และประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น