1.3.3) อังกฤษ
อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในตะวันออกในปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา ใน ค.ศ.1588 อังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I ค.ศ.1558-1603) ได้ทำสงครามกับสเปนและสามารถรบชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (Armada) อันเกรียงไกรของสเปนได้ ชัยชนะดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้อังกฤษเดินทางแสวงหาผลประโยชน์ในการค้าและสร้างอิทธิพลในตะวันออก และ ค.ศ.1591 อังกฤษได้ส่งกองเรือเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปมายังอินเดียเป็นครั้งแรก และใน ค.ศ.1600 บริษัทอินเดียตะวันตกออกของอังกฤษก็ได้รับพระราชทานกฏบัตร (Charter) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคบมาเจลลัน ต่อมาอังกฤษสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุมมหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย นับตั้งแต่นั้นอังกฤษก็กลายเป็นคู่แข่งขันในทางการค้ากับฮอลันดาในตะวันออก อย่างไรก็ดีหลัง ค.ศ.1660 เป็นต้นมา อังกฤษได้ทำสงครามชนะฮอลันดาและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจยุโรปอีกประเทศหนึ่งที่จะควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก แต่ฮอลันดายังควบคุมช่องแคบมะละกาและมีอำนาจในการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินดิสตะวันออกต่อไป
อังกฤษได้แผ่อิทธิพลเข้ามาในตะวันออกในปลายคริสต์ศตวรรษที่16 ซึ่งเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา ใน ค.ศ.1588 อังกฤษในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I ค.ศ.1558-1603) ได้ทำสงครามกับสเปนและสามารถรบชนะกองทัพเรืออาร์มาดา (Armada) อันเกรียงไกรของสเปนได้ ชัยชนะดังกล่าวได้กลายเป็นแรงกระตุ้นและสร้างความเชื่อมั่นให้อังกฤษเดินทางแสวงหาผลประโยชน์ในการค้าและสร้างอิทธิพลในตะวันออก และ ค.ศ.1591 อังกฤษได้ส่งกองเรือเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปมายังอินเดียเป็นครั้งแรก และใน ค.ศ.1600 บริษัทอินเดียตะวันตกออกของอังกฤษก็ได้รับพระราชทานกฏบัตร (Charter) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 1 ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคบมาเจลลัน ต่อมาอังกฤษสามารถสลายอำนาจทางทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุมมหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย นับตั้งแต่นั้นอังกฤษก็กลายเป็นคู่แข่งขันในทางการค้ากับฮอลันดาในตะวันออก อย่างไรก็ดีหลัง ค.ศ.1660 เป็นต้นมา อังกฤษได้ทำสงครามชนะฮอลันดาและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจยุโรปอีกประเทศหนึ่งที่จะควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก แต่ฮอลันดายังควบคุมช่องแคบมะละกาและมีอำนาจในการค้าเครื่องเทศในหมู่เกาะอินดิสตะวันออกต่อไป
หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษเข้ามามีบทบาทแทนบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษแล้ว รัฐบาลอังกฤษดำเนินนโยบายสร้างอิทธิพลในตะวันออกอังกฤษอย่างเต็มที่โดยยึดดินแดนต่างๆเป็นอาณานิคมของตน เช่น อินเดีย พม่า มลายู สิงคโปร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น