5.1 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา โยฮันเนส กูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ได้ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ในค.ศ. 1454 ประดิษฐกรรมดังกล่าวนี้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาสู่สังคมตะวันตก เพราะการพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่ ทำให้การรับรู้วิทยา การต่างๆขยายขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น ในที่สุดก็ทำให้ชาวตะวันตกเริ่มตระหนักถึงความสามารถที่ปราศจากข้อจำกัดของมนุษย์ นอกจากนี้ ข่าวสารจากความสำเร็จของการเดินเรือรอบโลก และการค้นพบดินแดนโพ้นทะเล ยังทำให้หลายคนเกิดความเชื่อมั่นในสติปัญญา และศักยภาพของชาวตะวันตก ในการพิชิตธรรมชาติ เพื่อยกระดับการ ดำรงชีพให้ดีขึ้นได้ สิ่งดังกล่าวนี้จึงกลายเป็นแรงกระตุ้นให้นักคิดหันมาใช้วิธีค้นหาความจริงจากธรรมชาติด้วยการหาเหตุผล การสังเกต และการทดลอง จนในที่สุดก็ทำให้การศึกษาแบบดั้งเดิมที่อาศัยแต่เพียงการคาดคะเนกลายเป็นวิธีการที่ล้าสมัย
การพัฒนาวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานสำคัญของการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งนักประวัติศาสตร์เรียกกันว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่ออารยธรรมตะวันตก และทำให้ชาติตะวันตกเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จนเป็นประเทศมหาอำนาจมาจนถึงปัจจุบันนี้
วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น