6.2 การปฏิวัติทางการเมืองการปกครองของอังกฤษ
หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I) สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1603 กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆ มามักจะมีความขัดแย้งกับรัฐสภาอยู่เสมอ เนื่องจากการใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต ใช้เงินแผ่นดินไปในทางที่ฟุ่มเฟือยและก่อสงคราม ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับกษัตริย์รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1642-1649 และรัฐสภาได้จับพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ประหารชีวิต จากนั้นกษัตริย์อังกฤษถูกลดอำนาจลงเรื่อย ๆ จนถึง ค.ศ. 1688 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II) ที่ทรงพยายามใช้อำนาจอย่างสูงสุดอีก จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยรัฐสภาอังกฤษได้อันเชิญพระเจ้าวิลเลียม (William) พระราชบตรเขตของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์บัลลังก์โดยพระองค์ทรงสัญญาว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง (Bill of Rights) ที่รัฐสภาเป็นผู้จัดร่างถวายซึ่งให้อำนาจรัฐสภาและให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (The Glorious Revolution) เป็นการปฏิวัติที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อ และได้รับการสนับสนุนจากชนทุกชั้น นับแต่นั้นมารัฐสภาอังกฤษได้ออกกฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษ ปฏิรูปสังคมและการเมืองของอังกฤษ ก้าวหน้าไปตามลำดับจนถึงปัจจุบันอังกฤษได้รับการยกย่องว่าเป็นประเทศแม่แบบของการปกครองแบบประชาธิปไตย อังกฤษไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรเหมือนประเทศอื่น ๆ ดังนั้นการปกครองของอังกฤษจึงยึดหลักการขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปกครองกันมา และยึดกฎหมายเป็นหลักรัฐสภา
การปฏิวัติใน ค.ศ. 1688 ทำให้ระบอบราชาธิปไตยแบบเทวสิทธิ์ของอังกฤษสิ้นสุดลง และได้ยุติปัญหาขัดแย้งทางการเมืองที่กระทบกระเทือนอังกฤษมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 นอกจากนี้ในปีต่อมามีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยขันติธรรมทางศาสนา (Act of Toleration) ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่พวกโปรเตสแตนต์สาขาต่าง ๆ ที่ไม่ยอมขึ้นต่อนิกายแองกลิคัน
วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจมีอะไรเกิดขึ้นบ้างค่ะ
ตอบลบ