วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

1.3การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก

1.3.1)โปรตุเกสและสเปน
นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่15 เป็นต้นมา ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจและพยายามแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก เจ้าชายเฮนรี นาวิกราช (Henry the Navigator ค.ศ.1394-1460) แห่งโปรตุเกส พระอนุชาของพระเจ้าจอร์นที่ 1 (John I) ทรงจัดตั้งโรงเรียนราชนาวีขึ้นที่แหลมซาเกรสเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆในการเดินทะเล และเป็นแหล่งรวบรวมการสำรวจเส้นทางเดินเรือด้วยพระอุปถัมภ์ของพระองค์ประกอบกับความรู้ในการใช้เข็มทิศ และเทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สามารถต้านคลื่นลมได้ทำให้นักเดินเรือของโปรตุเกสสามารถเดินทางจนถึงแหลมกรีนในแอฟริกา

หลังจากที่เจ้าชายเฮนรี นาวิกราชสิ้นพระชนม์ บาร์โธโลมิว ไดแอส (Bartholomeu Dias) สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาจนผ่านแหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) ได้สำเร็จในค.ศ.1488 และนักเดินเรือชาวโปรตุเกสอีกผู้หนึ่ง คือ วัสโก ดา กามา (Vasco da Gama) แล่นเรือในเส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงเอเชีย และหลังจากใช้เวลาเดินทางได้ 93 วันก็ขึ้นฝั่งที่เมืองกาลิกัต (Calicut) ของอินเดีย ค.ศ.1498 และสามารถซื้อเครื่องเทศโดยตรงจากอินเดียนำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากกว่า60เท่าของค่าใช้จ่ายในการเดินเรือทั้งหมด ระยะก่อนหน้านั้น ใน ค.ศ.1492 คริสดตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ชาวเมืองเจนัว ซึ่งเชื่อว่าสัณฐานของโลกกลมก็รับอาสากษัตริย์สเปนเดินทางไปสำรวจเส้นทางเดินเรือไปประเทศจีน โดยข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และสามารถค้นพบทวีปอเมริกาได้ในที่สุด ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาใต้ที่อุดมด้วยแหล่งแร่เงินและทองคำ

ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นระยะเวลาแห่งการเริ่มต้นแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอำนาจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปรตุเกส ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันในฐานะเป็นราชอาณาจักรที่นับถือศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเหมือนกัน ใน ค.ศ.1494 สันตะปาปา อะเล็กซานเดอร์ที่ 6 (Alexander VI) ทรงให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญาทอร์เดซียัส (Treaty of Tordesillas) กำหนดให้เส้นเมริเดียนที่ 370 ทางตะวันตกของหมู่เกาะเคปเวิร์ด ซึ่งปัจจุบันคือเส้นเมริเดียนที่ 51 ทางตะวันตกของกรีนิช เป็นเส้นสมมติที่แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิสำรวจและยึดครองดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 51 และโปรตุเกสได้สิทธิทางด้านตะวันออก อาณาเขตที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเส้นสมมติดังกล่าวนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการนำไปสู่การครอบครองทวีปอเมริกาใต้ของสเปนเกือบหมด ยกเว้นบราซิล ซึ่งตกเป็นของโปรตุเกสตามข้อตกลงของสนธิสัญญานี้ และนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเล (maritime empire) ของโปรตุเกสในเอเชีย

โปรตุเกสประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการกำจัดอำนาจของพวกมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาและรัฐอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆทางชายฝั่งะวันตก และยึดเกาะเมืองกัว (Goa) ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของสันนิบาตมุสลิม (Mohammedan League) ในมหาสมุทรอินเดียได้ และใช้เมืองกัวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในตะวันออก ในค.ศ.1511 อาฟองโซ เดอ อัลบูเกร์เก (Afonso de Albuquerque) ข้าหลวงโปรตุเกสประจำตะวันออก สามารถขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเข้ายึดครองมะละกาซึ่งเป็นชุมทางของเรือสินค้าจากอินเดีย อาหรับ อียิปต์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การยึดครองดินแดนดังกล่าวทำให้หมู่เกาะอินดิสตะวันออกทั้งหมด คือ บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และสร้างความมั่นคงอย่างมหาศาลให้แก่โปรตุเกสจากการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ

ในค.ศ.1519 เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน(Ferdinand Magellan) นักเดินเรือชาวโปรตุเกส ซึ่งเคยมีประสบการณ์เดินเรือมายังหมู่เกาะเครื่องเทศโดยทางมหาสมุทรอินเดีย ได้รับอาสากษัตริย์สเปนและคุมเรือสเปน 5 ลำ ออกค้นหาเส้นทางเดินเรือสายใหม่มายังตะวันออกโดยแล่นเรือออกจากท่าเรือสเปนไปทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก และอ้อมผ่านช่องแคบมาเจลลัน ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเขาตั้งชื่อว่า มาเร ปาซิฟิโก (Mare Pacifico) ซึ่งแปลว่า ทะเลสาบ (The Peaceful Sea) แต่ต้องใช้เวลา 4 เดือน จึงได้ขึ้นฝั่งอีกครั้งที่หมู่เกาะฟิลิปปินส์ การเดินทางของมาเจลลันครั้งนี้นับเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังทวีปเอเชีย และสามารถพิสูจน์ได้ว่าอเมริกาและเอเชียตั้งอยู่คนละทวีป คนละซีกโลกและรู้ว่าเกาะเฮติและคิวบาไม่ใช่ญี่ปุ่นและจีนตามที่ชาวตะวันตกเข้าใจผิดกันมาตั้งแต่เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา

อย่างไรก็ดี มาเจลลันไม่ได้มีโอกาสแล่นเรือกลับสเปน เขาถูกคนพื้นเมืองฆ่าตาย เมื่อพยายามเผยแผ่ศาสนา แต่ลูกเรือที่เหลือโดยการนำของ เซบาสเตียน เดล กาโน (Sebastian del Cano) สามาถหลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ได้และเดินทางต่อไปจนพบโมลุกกะ หรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ได้แวะซื้อเครื่องเทศจากชาวพื้นเมืองบรรทุกจนเต็มคันเรือ วิคโตริโอ (Victorio) และสามารถหลบเรือโปรตุเกสซึ่งควบคุมการค้าในหมู่เกาะเครื่องเทศ เดินทางกลับสเปนทางมหาสมุทรอิเดียได้สำเร็จ เรือ วิคโตริโอ เข้าเทียบท่าสเปนใน ค.ศ.1522 ซึ่งนับได้ว่าเป็นเรือลำแรกที่แล่นรอบโลกและสามารถพิสูจน์ทฤษฎีโลกกลมว่าเป็นความจริง
การค้นพบเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออกของดา กามา และมาเจลลันนับว่ามีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นการเปิดน่านน้ำให้เรือจากทวีปยุโรปสามารถแล่นมายังทวีปเอเชียทางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้อารยธรรมตะวันตกหลั่งไหลมายังเอเชีย ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

ใน ค.ศ.1580 ได้เกิดความผันผวนทางการเมืองในโปรตุเกสเมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน (Philip II ค.ศ.1556-1598) ทรงยกกองทัพเข้ายึดครองโปรตุเกส และทำให้โปรตุเกสต้องตกอยู่ในอำนาจของสเปนจนถึง ค.ศ.1640

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น