วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

5.2.2) อุตสาหกรรมทอผ้ากับความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม

5.2.2) อุตสาหกรรมทอผ้ากับความก้าวหน้าของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ เกิดจากการนำเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในงานอุตสาหกรรม ในค.ศ. 1712 ทอมัส นิวโคแมน (Thomas Newcoman ค.ศ. 1663 – 1729 ) สามารถสร้างเครื่องจักรที่ใช้พลังงานไอน้ำเพื่อสูบน้ำออกจากเหมืองถ่านหิน ต่อมาในค.ศ. 1729 เจมส์ วัตต์ ( James Watt ค.ศ. 1736 - 1819 ) ได้ปรับปรุงเครื่องจักรของนิวโคแมนให้ใช้ในอุตสากรรมทอผ้าได้สำเร็จ งานค้นคิดประดิษฐ์เครืองมือ และเครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องมาเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการทอผ้าเท่านั้น ในค.ศ. 1733 จอห์น เคย์ ( John Kay ค.ศ. 1704 - 1780 ) ได้ประดิษฐ์กี่กระตุก ( Flying shuttle ) ซึ่งช่วยให้ช่างทอสามารถผลิตผ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า จนทำให้ขาดแคลนเส้นด้ายสำหรับการทอผ้า ในค.ศ. 1764 เจมส์ ฮากรีฟส์ ( James Hargreaves ค.ศ. 1720 – 1778 ) สามารถแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการสร้างเครื่องปั่นด้าย สปินนิง เจนนี ( spinning jenny ) ที่ปั่นด้ายได้พร้อมกันทีละ 16 เส้น

ต่อมาในค.ศ. 1769 ริชาร์ด อาร์คไรต์ ( Richard Arkwright ค.ศ. 1732 – 1792 ) เขาได้ปรับปรุงเครื่องปั่นด้านสปินนิงเจนนีให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นเครื่องจักรกลที่ใช้พลังน้ำหมุนแทนแรงคน และเรียกเครื่องปั่นด้ายชนิดนี้ว่า วอเตอร์ เฟรม ( water frame ) เครื่องปั่นด้ายของอาร์คไรต์ นี้นับเป็นก้าวสำคัญของการเริ่มต้นการผลิตสิ่งทอในอังกฤษ จากที่ทำกันในบ้าน หรือโรงนา มาเป็นระบบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ในเวลาไม่ช้าก็ได้เกิดการจัดตั้งโรงงานทอผ้าตามริมฝั่งแม่น้ำลำธารต่าง ๆทั่วทั้งประเทศ มีผลให้ราคาของผ้าฝ้ายลดลจนเป็นสินค้าที่ทุกคนหาซื้อได้โดยง่าย ในช่วงเวลานี้ อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤษได้พัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วจนปริมาณฝ้ายที่ส่งมาจากอารานิคมในทวีปเอเชียไม่เพียงพอกับความต้องการของโรงงาน อังกฤษจึงต้องหันไปขยายตลาดค้าฝ้ายกับอาณานิคมในทวีปอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ เอไล วิตนี ( Eli Whitney ) สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรกลคอตตันยิน ( Cotton Gin ) ที่แยกเมล็ดฝ้ายออกจากใยได้สำเร็จในค.ศ. 1793 ซึ่งทำให้ราคาต้นทุนของการผลิตฝ้ายมีราคาถูกลงอีก


ระหว่างค.ศ. 1780 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมการทอผ้าของอังกฤาได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนมีผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงกว่า 8 เท่าตัว ปริมาณการขยายตัวดังกล่าวนี้ได้เพิ่มสูงมากขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อโรงงานทอผ้าต่าง ๆ ได้นำเอาเครื่องจักรไอน้ำ ( steam engine ) ที่เจมส์ วัตต์คิดประดิษฐ์ในค.ศ. 1769 มาใช้ขับเคลื่อนเครื่องจักรกลแทนพลังงานน้ำ อย่างไรก็ดีจนกระทั่ง ค.ศ. 1800 เจมส์ วัตต์ และหุ้นส่วนขายเครื่องจักรไอน้ำได้ไม่ถึง 300 เครื่อง แต่อีก 50 ปีต่อมา อุตสาหกรรมการทอผ้าส่วนใหญ่ต่างใช้เครื่องจักรไอน้ำเป็นพลังขับเคลื่อนเครื่องจักรกล และทำให้โรงงานทอผ้าของอังกฤษไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่ริมแม่น้ำลำธารอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น